วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558
เรื่องปลาทูไหม้..ยังอ่านได้ตลอดๆ
ชอบเรื่องนี้มาก อ่านบ่อยๆ เตือนตัวเอง
"แม่ของผม เป็นคนทำ อาหารที่บ้านประจำ ทุกวัน... คืนหนึ่ง หลังจากที่ แม่ทำงานหนัก มาตลอดทั้งวัน แม่ กลับบ้านมา ด้วยความเหนื่อยล้า และทำอาหารเย็น ให้เราตามปกติ ที่โต๊ะอาหาร แม่วางจาน ที่มี ปลาทูไหม้เกรียม บนโต๊ะ ต่อหน้าพ่อ และทุกๆคน ผมรอว่า แต่ละคน จะว่าอย่างไร
แต่... พ่อไม่พูดอะไร และตั้งหน้าตั้งตา กิน ปลาทูไหม้ตัวนั้น และหันมา ถามผมว่า ที่โรงเรียน เป็นอย่างไรบ้าง
คืนนั้น หลังอาหารเย็น ผมจำได้ว่า ได้ยิน แม่ ขอโทษพ่อ ที่ทอดปลาทูไหม้ และ ผมไม่เคยลืม ที่พ่อ
พูดกับแม่เลย "โอย... ผมชอบ ปลาทูทอด เกรียมๆ อร่อยมาก นะแม่"
คืนต่อมา ผมเก็บคำถามในใจ ก่อนนอน และถามพ่อว่า "พ่อชอบปลาทูทอด เกรียมๆ จริงๆ เหรอ"
พ่อลูบหัวผม และตอบว่า
"แม่ของลูก
ทำงานหนัก มาทั้งวัน...
ปลาทูไหม้ 1 ตัว ไม่เคยทำร้ายใคร แต่คำพูด ที่ต่อว่า กันนั้นต่างหาก ที่จะทำร้ายกัน"
"ชีวิตคนเรา
เต็มไปด้วย ความไม่สมบูรณ์แบบ และ แต่ละคน ก็ ไม่ได้เกิดมา สมบูรณ์แบบ
ตัวเราเอง
ก็ไม่ได้มีอะไร ดีกว่าใครๆ"
แต่สิ่งที่ พ่อเรียนรู้ ในช่วงชีวิต คือ.....
การเรียนรู้ ที่จะยอมรับ
ความผิด ของคนอื่น และ ของตัวเอง
การเลือก ที่จะยินดีกับ
ความคิดต่างกันของ
แต่ละบุคคล เป็นสิ่งสำคัญ ในการรักษา ชีวิตครอบครัว ที่มีความสุข และยืนยาว
“ชีวิตเรา สั้นเกินกว่า ที่จะตื่นขึ้นมา พร้อมกับ
ความเสียใจ ที่ว่า เราทำผิดกับ คนที่เรารัก
และรักเรา ให้ดูแล และ
ทะนุถนอม คนที่รักเรา และพยายามเข้าใจ และให้อภัย จะดีกว่า"
** ถ้าเรารู้ เราจะ ทำไหม? **
• เราจะบีบแตร ใส่คนที่ ยืนยึกยัก ริมถนน แยกที่ผ่านมาไม๊– ถ้าเรารู้ว่า เค้าใส่ขาเทียม
• เราจะเบียดชน คนข้างหน้า ที่เดินช้ามากไม๊ – ถ้าเรารู้ว่า เค้าเพิ่งตกงาน
• เราจะขำ คนที่ แต่งตัวเชยไม๊ – ถ้าเรารู้ว่า เค้ามีชุดเก่ง แค่ชุดเดียว
• เราจะรำคาญ สาวโรงงาน ที่มาเดิน พารากอนไม๊ – ถ้าเรารู้ว่า นั่นคือ
การฉลองวันเกิดของเธอ
• เราจะหมั่นไส้ ลุงที่หัวเราะ
เสียงดังลั่น คนนั้นไม๊ – ถ้ารู้ว่า แกเป็นมะเร็ง ขั้นสุดท้าย
• เรารู้แจ่มชัดเสมอ…
ว่าชีวิตเรา กำลังเจออะไร
แต่เรา ไม่มีวันรู้ว่า
"คนที่เราเจอ – กำลังเจอ กับอะไร"
**โลก กว้างกว่า เงาของเรา และโลก ก็ไม่ได้หมุน รอบตัวเรา
**มองข้าม เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไปบ้าง ให้โอกาส และให้อภัย มีความเข้าใจ ซึ่งกันและกัน จะได้รัก และอยู่ด้วยกัน อย่างยั่งยืน ยาวนาน
-----------------
ที่มา...จากเพื่อนกลุ่มไลน์
สอนหนูให้รู้จักเซ็กซ์
เล่าเรื่องลามก สอนหนูให้รู้จักเซ็กซ์
ไอ้หนุ่มกับเมียสาวพึ่งแต่งงานคืนแรก
เมีย "พี่คะหนูไม่รู้เรื่อง sex เลย ช่วยสอนด้วยว่าต้องทำไงอะ"
หนุ่ม "ได้ซิน้อง เราเรียกตรงนั้นของน้องว่าคุก แล้วเรียกตรงนี้ของพี่ว่านักโทษ
เราก็แค่จับนักโทษเข้าคุกเท่านั้นเอง เราเอานักโทษเข้าคุกเลยนะ"
หลังจากเอานักโทษเข้าคุก ชายหนุ่ม-เมียสาวก็นอนแผ่อย่างมีความสุข
ผ่านไปสักครู่เมียสาวก็ออดอ้อน
"พี่คะนักโทษมันแหกคุกไปแล้วอะ"
"ได้เลยน้องเราต้องจับมันใส่คุกอีก"
ไอ้หนุ่มแอบดีใจ
หลังจับนักโทษเข้าคุก 3 รอบไอ้หนุ่มก็นอนแผ่หราสิ้นเรี่ยวแรง สักพักเมียสาวก็ร้อง
"พี่ขามันหนีไปอีกแล้ว จับมันมาเร็ว"
ชายหนุ่ม "เฮ้ย มันไม่ได้ติดคุกตลอดชีวิตนะโว้ย"
ที่มา...จากเพื่อนกลุ่มไลน์
ไอ้หนุ่มกับเมียสาวพึ่งแต่งงานคืนแรก
เมีย "พี่คะหนูไม่รู้เรื่อง sex เลย ช่วยสอนด้วยว่าต้องทำไงอะ"
หนุ่ม "ได้ซิน้อง เราเรียกตรงนั้นของน้องว่าคุก แล้วเรียกตรงนี้ของพี่ว่านักโทษ
เราก็แค่จับนักโทษเข้าคุกเท่านั้นเอง เราเอานักโทษเข้าคุกเลยนะ"
หลังจากเอานักโทษเข้าคุก ชายหนุ่ม-เมียสาวก็นอนแผ่อย่างมีความสุข
ผ่านไปสักครู่เมียสาวก็ออดอ้อน
"พี่คะนักโทษมันแหกคุกไปแล้วอะ"
"ได้เลยน้องเราต้องจับมันใส่คุกอีก"
ไอ้หนุ่มแอบดีใจ
หลังจับนักโทษเข้าคุก 3 รอบไอ้หนุ่มก็นอนแผ่หราสิ้นเรี่ยวแรง สักพักเมียสาวก็ร้อง
"พี่ขามันหนีไปอีกแล้ว จับมันมาเร็ว"
ชายหนุ่ม "เฮ้ย มันไม่ได้ติดคุกตลอดชีวิตนะโว้ย"
ที่มา...จากเพื่อนกลุ่มไลน์
คาถาอายุยืน
ตื่นนอนตีสี่ อย่าลุกลี้ลุกลน ลืมตามองจน ตัวตนพ้นภัย
ขยับกายา แขนขาร่างกาย อย่าลุกทันใด ให้หายมึนงง
สวดมนต์แผ่เมตตา ภาวนาแบบสงฆ์ ทำจิตมั่นคง
รับรองของดี นวดตาทันใดเ ห็นแสงใส 2 นาที
ดื่มน้ำอุ่นเร็วรี่ ทันที 4 แก้ว เข้าห้องสุขา สุขขีเพริดแพร้ว
ออกมาเสร็จแล้วแกว่งแขน 1 พัน รับประทานผลไม้ก่อนอาหาร
เร็วพลันทานข้าว 1 จาน ทานไข่ผักปลา หวานเค็มมันหยด
ควรงดบ้างหนา กินบ้างบางเวลา โรคาห่างไกล
หมักดองต้องทิ้ง ทอดปิ้งย่างไหม้ สุขกายสุขใจ
สดใสโสภา ก่อนอาบน้ำเย็นแกว่งแขนอีกครา
น้ำ 1 แก้วตามมาวั นทาก่อนนอน จิตใจผ่องแผ้ว
เสร็จแล้วพักผ่อนหลับตาขอพร
ที่มา...จากเพื่อนกลุ่มไลน์
วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
การแบ่งและกำหนดขนาดวงจร
ไฟฟ้าจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯมายังเมนสวิตซ์จะถูกแบ่งออกเป็นวงจรย่อยๆหลายวงจรเพื่อความสะดวกในการใช้งาน และเพื่อไม่ให้โหลดในแต่ละวงจรมากเกินไป การแบ่งวงจรย่อยต่างๆสามารถแบ่งได้หลายแบบตามความต้องการ อาทิ
1. แบ่งตามลักษณะของโหลด เช่น แสงสว่าง เต้ารับ เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
2. แบ่งตามพื้นที่ วิธีนี้จะแบ่งโหลดที่ติดตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันเป็นวงจรเดียวกัน เช่น ชั้นบน ชั้นล่าง ห้องครัว ห้องนอน ห้องรับแขก และไฟสนาม เป็นต้น
3. แบบผสม เป็นการนำสองแบบข้างต้นมาผสมกัน โดยทั่วไปจะแยกตามพื้นที่ก่อน เช่น ชั้นบนกับชั้นล่างจะแยกวงจรกัน แต่จะรวมเต้ารับกับแสงสว่างไว้ด้วยกันและแยกวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรือมีการใช้งานพิเศษออกต่างหาก เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องสูบน้ำ เป็นต้น
1. แบ่งตามลักษณะของโหลด เช่น แสงสว่าง เต้ารับ เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
2. แบ่งตามพื้นที่ วิธีนี้จะแบ่งโหลดที่ติดตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันเป็นวงจรเดียวกัน เช่น ชั้นบน ชั้นล่าง ห้องครัว ห้องนอน ห้องรับแขก และไฟสนาม เป็นต้น
3. แบบผสม เป็นการนำสองแบบข้างต้นมาผสมกัน โดยทั่วไปจะแยกตามพื้นที่ก่อน เช่น ชั้นบนกับชั้นล่างจะแยกวงจรกัน แต่จะรวมเต้ารับกับแสงสว่างไว้ด้วยกันและแยกวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรือมีการใช้งานพิเศษออกต่างหาก เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องสูบน้ำ เป็นต้น
การเดินสายไฟในบ้าน
สายไฟที่ใช้กันอยู่ในบ้านนั้นเป็นสายไฟฟ้าสำหรับใช้กับไฟแรงต่ำ คือ 220 โวลต์ มีลักษณะเป็นสายไฟแกนคู่ หุ้มฉนวน มีลักษณะแบน ภายในมีสายทองแดงหุ้มด้วยฉนวนพีวีซีในแต่ละเส้น แล้วนำมาติดรวมกันด้วยฉนวนภายนอกอีกครั้งหนึ่ง สายประเภทนี้จะผลิตมาเป็นขด ขดละ 100 เมตร โดยขนาดที่ใช้กันทั่วไปก็มีหน้าตัดตั้งแต่ 0.5 - 35 ตารางมิลลิเมตร การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับระดับของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านโหลดนั้นๆ อาทิ วงจรแสงสว่างจะใช้สายคู่ขนาด 1 ตารางมิลลิเมตร วงจรเต้ารับ และอุปกรณ์ไฟฟ้า จะใช้ขนาด 1.5 ตารางมิลลิเมตร และวงจรมักมีชุดฟิวส์ป้องกันกระแสเกิน เป็นฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ กรณีเดินร้อยท่อจะใช้เป็นสายเดี่ยว
การดูว่าสายไฟมีขนาดถูกต้องหรือไม่นั้นก็ให้ดูที่เปลือกของสายไฟ ปกติจะระบุมาตรฐานการผลิตขนาดสาย อุณหภูมิ การใช้งาน และแรงดันไฟฟ้า สำหรับชนิดของสายอาจเป็นชื่อเรียก เช่น VAF หรือระบุเป็นตารางของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น TIS 11-2531 Table 2 ซึ่งหมายถึงสาย VAF หรือสายพีวีซีคู่ ชนิดแบนนั่นเอง และสายพีวีซีคู่นี้จะมีสายอยู่สองสีด้วยกันคือ สีดำ ใช้เดินเป็นสายเส้นไฟ และสีเทา ใช้เดินเป็นสายนิวทรัล
ปัจจุบันทางการไฟฟ้าฯ ได้กำหนดให้บางวงจร โดยเฉพาะวงจรเต้ารับในอาคารบ้านเรือนใช้ไฟแบบ 3 แกน ซึ่งเป็นสายทองแดงหุ้มฉนวนมีสายสีเขียวเพิ่มมาอีก 1 เส้น รวมเป็น 3 เส้น ประกบอยู่ในสายสายเดียว สายสีเขียวจะใช้เป็นสายดินเพื่อป้องกันไฟดูดเมื่อมีไฟรั่วเครื่องใช้ไฟฟ้า
"บาร์โธโลมีโอ คริสโตโฟรี" ผู้คิดค้นเปียโน ตัวแรกของโลก
"บาร์โธโลมีโอ คริสโตโฟรี" ได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นเปียโนตัวแรกของโลก ซึ่งวันที่ 4 พฤษภาคม 2558 นี้ จะเป็นวันครบรอบวันเกิด 360 ปีของเขา
เขาเกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ปีค.ศ. 1655 ที่เมืองปาดัวร์ ประเทศอิตาลี ทำงานอยู่กับเจ้าชายเฟอดินานแห่งอิตาลี่ ในฐานะ “ผู้ดูแลเครื่องดนตรี” โดยเขาเป็นผู้เชียวชาญการทำ Harpsichord (ฮาร์ปซิคอร์ด เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ในยุคบาโรค ประเภทเครื่องดีด โดยมีการพัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภทพิณ และกีตาร์ กลไกการเกิดเสียงจะใช้การเกี่ยวดึงสายโลหะซึ่งมีขนาด และความยาวแตกต่างกันเพื่อให้ได้เสียงความถี่ต่างๆ การเล่นเครื่องดนตรีนี้จะใช้ คีย์บอร์ด (Keyboard) ในการสร้างกลไกในการดึงสาย)
ผลงานที่มีชื่อเสียงและทำให้คนทั่วไปจดจำเขาได้คือ การสร้างเปียโนเครื่องแรกขึ้นในปี ค.ศ. 1726 ซึ่งเป็นเปียโนที่มีกลไกการทำงานค่อนข้างจะสมบูรณ์ โดยเปียโน (Piano) เป็นชื่อที่เขาเรียกย่อมาจากชื่อเต็มๆ ว่า Piano et Forte (หมายถึง เบา และ ดัง) เพราะเปียโนเป็นเครื่องดนตรีสามารถผลิตเสียงเบาหรือดังได้ โดยสามารถทำเสียง เบาและดังได้โดยใช้ระยะเวลาเพียงเสี้ยววินาที และเป็นเครื่องดนตรีที่มีความกว้างของ เสียง (Range) ถึง 88 เสียง ซึ่งเครื่องดนตรี Keyboard อื่นๆ ทำไม่ได้ ซึ่งการที่เปียโนทำเสียงเบาและดังได้เช่นนั้น ทำให้ สามารถใช้บรรเลงเพลงซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้คนฟังได้อารมณ์สุนทรีย์
ซึ่งเปียโนหลังแรกถือกำเนิดขึ้นจากคริสโตโฟรี ได้ถูกสร้างขึ้นมาโดยที่ไม่ต้องมีต้นแบบใดๆ ทั้งสิ้น โดยเขาสามารถคิดค้นวิธีการที่ทำให้ค้อนตีลงบนสายและเด้งกลับทันทีได้อย่างอัจฉริยะ (ถ้าค้อนตีสายแล้วไม่เด้งกลับเสียงจะไม่ออก เพราะสายจะไม่สั่น) แต่ว่าเปียโนของคริสโตโฟรีนี้ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่ก็ถือว่าเป็นเปียโนต้นแบบที่ได้รับการพัฒนามาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน
เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มกราคม ปีค.ศ. 1731 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
เพราะเขา ทำให้เรามีเครื่องดนตรีที่มีเสียงไพเราะอย่างลึกล้ำเช่นเปียโนมาจนถึงทุกวันนี้
ปียโน (ย่อมาจาก เปียโนฟอเต) เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงโดยการกดลิ่มนิ้ว (คีย์บอร์ด) มักใช้นิยมบรรเลงเพลงแนว คลาสสิก และ แจ๊ส แม้ว่าเปียโนจะมีขนาดใหญ่และหนักทำให้ไม่สามารถพกพาได้ และมีราคาค่อนข้างแพง แต่เปียโนก็เป็นเครื่องดนตรีที่ได้เปรียบเครื่องดนตรีมากมาย เสียงของเปียโนสามารถเข้ากับเครื่องดนตรีเกือบทุกชนิด ดังนั้นเปียโนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแบบบรรเลงเดี่ยว, แชมเบอร์, คลอเสียง หรือแม้กระทั่งร่วมกับวง ออร์เคสตรา
ฝาครอบและแผ่นครอบของเปียโนอะคูสติกจะทำมาจากไม้ ในขณะที่กระดานเสียง (soundboard) จะถูกทำจากเหล็กกล้า และขึงด้วยสายโลหะ ลิ่มนิ้วของเปียโนมาตรฐาน มีอยู่ทั้งหมด 88 คีย์ (คีย์ขาว 52, คีย์ดำ 36) ช่วงคีย์ปกติจะมีสายโลหะอยู่ 3 เส้นในหนึ่งคีย์ และคีย์เบสจะมีสายโลหะเส้นใหญ่อยู่ 1–2 เส้นในหนึ่งคีย์ เมื่อกดคีย์ จะเกิดเป็นเสียงโน้ตดนตรีที่มีความถี่การสั่นพ้องแตกต่างกันออกไป และเมื่อปล่อยคีย์ เสียงก็จะถูกตัด หากต้องการให้เสียงกังวานและลากยาวก็สามารถทำให้ โดยการเหยียบเพดัลขวา (คันเหยียบ) ที่อยู่บริเวณด้านล่างของเปียโนค้างไว้
ที่มา http://www.zcooby.com/bartolomeo-cristofori-who-invented-the-piano/
เขาเกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ปีค.ศ. 1655 ที่เมืองปาดัวร์ ประเทศอิตาลี ทำงานอยู่กับเจ้าชายเฟอดินานแห่งอิตาลี่ ในฐานะ “ผู้ดูแลเครื่องดนตรี” โดยเขาเป็นผู้เชียวชาญการทำ Harpsichord (ฮาร์ปซิคอร์ด เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ในยุคบาโรค ประเภทเครื่องดีด โดยมีการพัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภทพิณ และกีตาร์ กลไกการเกิดเสียงจะใช้การเกี่ยวดึงสายโลหะซึ่งมีขนาด และความยาวแตกต่างกันเพื่อให้ได้เสียงความถี่ต่างๆ การเล่นเครื่องดนตรีนี้จะใช้ คีย์บอร์ด (Keyboard) ในการสร้างกลไกในการดึงสาย)
ผลงานที่มีชื่อเสียงและทำให้คนทั่วไปจดจำเขาได้คือ การสร้างเปียโนเครื่องแรกขึ้นในปี ค.ศ. 1726 ซึ่งเป็นเปียโนที่มีกลไกการทำงานค่อนข้างจะสมบูรณ์ โดยเปียโน (Piano) เป็นชื่อที่เขาเรียกย่อมาจากชื่อเต็มๆ ว่า Piano et Forte (หมายถึง เบา และ ดัง) เพราะเปียโนเป็นเครื่องดนตรีสามารถผลิตเสียงเบาหรือดังได้ โดยสามารถทำเสียง เบาและดังได้โดยใช้ระยะเวลาเพียงเสี้ยววินาที และเป็นเครื่องดนตรีที่มีความกว้างของ เสียง (Range) ถึง 88 เสียง ซึ่งเครื่องดนตรี Keyboard อื่นๆ ทำไม่ได้ ซึ่งการที่เปียโนทำเสียงเบาและดังได้เช่นนั้น ทำให้ สามารถใช้บรรเลงเพลงซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้คนฟังได้อารมณ์สุนทรีย์
ภาพแสดงหลักการทำงานของ Piano et Forte
ซึ่งเปียโนหลังแรกถือกำเนิดขึ้นจากคริสโตโฟรี ได้ถูกสร้างขึ้นมาโดยที่ไม่ต้องมีต้นแบบใดๆ ทั้งสิ้น โดยเขาสามารถคิดค้นวิธีการที่ทำให้ค้อนตีลงบนสายและเด้งกลับทันทีได้อย่างอัจฉริยะ (ถ้าค้อนตีสายแล้วไม่เด้งกลับเสียงจะไม่ออก เพราะสายจะไม่สั่น) แต่ว่าเปียโนของคริสโตโฟรีนี้ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่ก็ถือว่าเป็นเปียโนต้นแบบที่ได้รับการพัฒนามาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน
เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มกราคม ปีค.ศ. 1731 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
เพราะเขา ทำให้เรามีเครื่องดนตรีที่มีเสียงไพเราะอย่างลึกล้ำเช่นเปียโนมาจนถึงทุกวันนี้
ปียโน (ย่อมาจาก เปียโนฟอเต) เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงโดยการกดลิ่มนิ้ว (คีย์บอร์ด) มักใช้นิยมบรรเลงเพลงแนว คลาสสิก และ แจ๊ส แม้ว่าเปียโนจะมีขนาดใหญ่และหนักทำให้ไม่สามารถพกพาได้ และมีราคาค่อนข้างแพง แต่เปียโนก็เป็นเครื่องดนตรีที่ได้เปรียบเครื่องดนตรีมากมาย เสียงของเปียโนสามารถเข้ากับเครื่องดนตรีเกือบทุกชนิด ดังนั้นเปียโนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแบบบรรเลงเดี่ยว, แชมเบอร์, คลอเสียง หรือแม้กระทั่งร่วมกับวง ออร์เคสตรา
ฝาครอบและแผ่นครอบของเปียโนอะคูสติกจะทำมาจากไม้ ในขณะที่กระดานเสียง (soundboard) จะถูกทำจากเหล็กกล้า และขึงด้วยสายโลหะ ลิ่มนิ้วของเปียโนมาตรฐาน มีอยู่ทั้งหมด 88 คีย์ (คีย์ขาว 52, คีย์ดำ 36) ช่วงคีย์ปกติจะมีสายโลหะอยู่ 3 เส้นในหนึ่งคีย์ และคีย์เบสจะมีสายโลหะเส้นใหญ่อยู่ 1–2 เส้นในหนึ่งคีย์ เมื่อกดคีย์ จะเกิดเป็นเสียงโน้ตดนตรีที่มีความถี่การสั่นพ้องแตกต่างกันออกไป และเมื่อปล่อยคีย์ เสียงก็จะถูกตัด หากต้องการให้เสียงกังวานและลากยาวก็สามารถทำให้ โดยการเหยียบเพดัลขวา (คันเหยียบ) ที่อยู่บริเวณด้านล่างของเปียโนค้างไว้
ที่มา http://www.zcooby.com/bartolomeo-cristofori-who-invented-the-piano/
วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558
การโยงสายไฟเข้าบ้าน
ระยะห่างของระเบียงกับสายไฟตามกฎฯของการไฟฟ้า
การโยงพาดสายใกล้หน้าต่างบ้านตามกฏของการไฟฟ้า
ระยะความสูงเหนือถนนหรือทางเดินตามกฏของการไฟฟ้า
การติดตั้งฝาครอบท่อรับสายแบบหัวงูเห่าตามกฏของการไฟฟ้า
สายโยงพาดระหว่างเสากับลูกถ้วยควรอยู่ต่ำกว่าหัวงูเห่า(Service Entrance cap) ซึ่งในทางปฏิบัติมักทำไม่ได้เนื่องจากพื้นที่มีจำกัด ดังนั้นการติดตั้งควรให้หัวงูเห่าห่างจากลูกถ้วยไม่เกิน 24 นิ้ว ในทางด้านใดด้านหนึ่ง
การพิจารณาเลือกเมนสวิตซ์
การเลือกเมนสวิตซ์แต่ละชิดขึ้นอยู่กับการใช้งานและค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม เมนสวิตซ์แต่ละชนิดจะมีข้อดีหรือข้อด้อยที่ควรพิจารณาคือ
คัทเอ๊าท์พร้อมฟิวส์ เหมาะสำหรับบ้านอยู่อาศัยขนาดเล็กที่ใช้เครื่องวัดขนาดไม่เกิน 15 แอมแปร์ 1 เฟส มีราคาถูกกว่าชนิดอื่นๆ แต่มักมีปัญหาในการใช้งาน เช่น จุดต่อสายหลวม ทำให้เกิดความร้อน เมื่อฟิวส์ขาดต้องซื้อฟิวส์มาเปลี่ยนใหม่ ทำให้ยุ่งยากในการใช้งาน
เซฟตี้สวิตซ์ ใช้กับเครื่องวัดขนาดใหญ่ได้ทุกขนาด ราคาแพงดว่าและมีความปลอดภัยในการใช้งานสูงกว่าคัทเอ๊าท์พร้อมฟิวส์ แต่ราคาถูกกว่าคอนซูมเมอร์ยูนิต มีความยุ่งยากในการเปลี่ยนฟิวส์เช่นเดียวกันกับคัทเอ๊าท์พร้อมฟิวส์ จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้นัก
คอนซูมเมอร์ยูนิต เป็นเมนสวิตซ์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด สะดวกในการใช้งาน ไม่ต้องมีการต่อสายมาก ทำให้หมดปัญหาเรื่องจุดต่อสายร้อน เมื่อเซอร์กิตเบกเกอร์ปลดวงจรก็สามารถสับเข้าใหม่โดยไม่ต้องเปลี่ยนอะไรใหม่ เป็นแบบที่แนะนำให้ใช้ แต่ราคาแพงกว่าชนิดอื่นๆ
เมื่อต่อสายจากภายนอกเข้าเมนสวิตซ์แล้ว จึงต่อสายไฟไปใช้งานตามจุดต่างๆที่ต้องการได้ทันที ในกรณรนี้จะใช้กับอาคารขนาดเล็กๆที่มีการใช้ไฟไม่มากนัก สายไฟฟ้าที่ใช้ควรมีขนาดไม่เล็กกว่า 2.5 ตารางมิลลิเมตร(ปกติจะใช้ขนาด 2.5 ตารางมิลลิเมตร หรือ 4 ตารางมิลลิเมตร)
ส่วนบ้านอยู่อาศัยหรืออาคารขนาดกลางที่มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น(ประมาณ 10 จุดขึ้นไป) จะมีการแบ่งใช้ไฟออกเป็นหลายวงจรก็จะมีเครื่องป้องกันกระแสเกินอยู่ด้วย วงจรเหล่านี้เรียกว่า "วงจรย่อย" การแบ่งวงจรย่อยจะแบ่งตามความเหมาะสมและแบ่งได้หลายแบบ ได้แก่ แบ่งตามพื้นที่ใช้งาน และแบ่งตามประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น วงจเครื่องปรับอากาศ วงจรเครื่องทำน้ำอุ่น และวงจรเต้ารับ เป็นต้น
คัทเอ๊าท์พร้อมฟิวส์ เหมาะสำหรับบ้านอยู่อาศัยขนาดเล็กที่ใช้เครื่องวัดขนาดไม่เกิน 15 แอมแปร์ 1 เฟส มีราคาถูกกว่าชนิดอื่นๆ แต่มักมีปัญหาในการใช้งาน เช่น จุดต่อสายหลวม ทำให้เกิดความร้อน เมื่อฟิวส์ขาดต้องซื้อฟิวส์มาเปลี่ยนใหม่ ทำให้ยุ่งยากในการใช้งาน
เซฟตี้สวิตซ์ ใช้กับเครื่องวัดขนาดใหญ่ได้ทุกขนาด ราคาแพงดว่าและมีความปลอดภัยในการใช้งานสูงกว่าคัทเอ๊าท์พร้อมฟิวส์ แต่ราคาถูกกว่าคอนซูมเมอร์ยูนิต มีความยุ่งยากในการเปลี่ยนฟิวส์เช่นเดียวกันกับคัทเอ๊าท์พร้อมฟิวส์ จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้นัก
คอนซูมเมอร์ยูนิต เป็นเมนสวิตซ์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด สะดวกในการใช้งาน ไม่ต้องมีการต่อสายมาก ทำให้หมดปัญหาเรื่องจุดต่อสายร้อน เมื่อเซอร์กิตเบกเกอร์ปลดวงจรก็สามารถสับเข้าใหม่โดยไม่ต้องเปลี่ยนอะไรใหม่ เป็นแบบที่แนะนำให้ใช้ แต่ราคาแพงกว่าชนิดอื่นๆ
เมื่อต่อสายจากภายนอกเข้าเมนสวิตซ์แล้ว จึงต่อสายไฟไปใช้งานตามจุดต่างๆที่ต้องการได้ทันที ในกรณรนี้จะใช้กับอาคารขนาดเล็กๆที่มีการใช้ไฟไม่มากนัก สายไฟฟ้าที่ใช้ควรมีขนาดไม่เล็กกว่า 2.5 ตารางมิลลิเมตร(ปกติจะใช้ขนาด 2.5 ตารางมิลลิเมตร หรือ 4 ตารางมิลลิเมตร)
ส่วนบ้านอยู่อาศัยหรืออาคารขนาดกลางที่มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น(ประมาณ 10 จุดขึ้นไป) จะมีการแบ่งใช้ไฟออกเป็นหลายวงจรก็จะมีเครื่องป้องกันกระแสเกินอยู่ด้วย วงจรเหล่านี้เรียกว่า "วงจรย่อย" การแบ่งวงจรย่อยจะแบ่งตามความเหมาะสมและแบ่งได้หลายแบบ ได้แก่ แบ่งตามพื้นที่ใช้งาน และแบ่งตามประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น วงจเครื่องปรับอากาศ วงจรเครื่องทำน้ำอุ่น และวงจรเต้ารับ เป็นต้น
วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558
เซอร์กิตเบรกเกอร์
เป็นอุปกรณ์ที่เป็นทั้งเครื่องปลดวงจรและอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินในตัวเดียวกัน ซึ่งทำให้สะดวกและปลอดภัยในการใช้งาน มีทั้งชนิดตัดสายเส้นเดียว(เรียกว่าชนิดขั้วเดียว) ตัดสายสองเส้น และสามเส้น ตามความต้องการใช้งาน โดยในวงจร 1 เฟส 2 สาย สามารถเลือกใช้เป็นชนิดหนึ่งขัวหรือสองขัวได้ ถ้าเป็นชนิดหนึ่งขั้วก็จะตัดวงจรเฉพาะสายที่มีไฟเท่านั้น
ขนาดของเซอร์กิตเบรกเกอร์เรียกตามพิกัดกระแสเซอร์กิตเบรกเกอร์เป็นแอมแปร์ ขนาดที่ใช้ เช่น 5, 10, 15, 16, 20, 25, 30, 32, และ 50 แอมแปร์ เป็นต้น โดยจะระบุเป็นตัวเลขที่ก้านเซอร์กิตเบรกเกอร์ ในการเลือกซื้อต้องทราบพิกัดกระแสและแรงดันเช่นเดียวกับฟิวส์
ในการใช้งาน นิยมซื้อชนิดที่ประกอบมากัลกล่องเรียบร้อยแล้ว เรียกว่าโหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) หรือ คอนซูมเมอร์ยูนิต ทั้งสองชนิดนี้ใช้งานเหมือนกัน ต่างกันที่คอนซูมเมอร์ยูนิตออกแบบสำหรับใช้ในบ้าน จึงสวยกว่าและใช้งานสะดวกกว่า
ในกรณีที่เซอร์กิตเบรกเกอร์ปลดวงจร เนื่องจากการใช้ไฟเกินหรือลัดวงจร การจะสับเข้าใหม่ต้องทำการรีเซตเสียก่อน โดยโยกคันโยกไปในตำแหน่งปลด(off) แล้วจึงสับเข้าไปใหม่ได้
คอนซูมเมอร์ยูนิต
หรือเรียกว่าโหลดเซ็นเตอร์ คือแฟงไฟฟ้าสำเร็จรูปที่ประกอบด้วยเซอณืกิตเบรกเกอร์ที่เป็นตัวเมนหนึ่งตัว จะสังเกตว่ามีขนาดใหญ่กว่าตัวอื่น และตัวย่อยที่ใช้เป็นวงจรย่อยอีกหลายตัวตามต้องการ ในการซื้อมาใช้งานจะต้องกำหนดด้วยว่าต้องการขนาดคอนซูมเมอร์ยูนิตที่มีตัวย่อยจำนวนเท่าไร เช่น 2, 4 หรือ 6 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่เป็นตัวย่อยอาจใส่ไม่ครบตามช่องว่างในกล่องก็ได้ โดยช่องที่ว่างอยู่จะมีฝาครอบปิดไว้ให้
คอนซูมเมอร์ยูนิตทั่วไปจะประกอบด้วยตัวเมนและมีที่สำหรับใส่ตัวย่อยไว้ให้ โดยจะมีบัสบาร์ต่อจากตัวเมนไปยังตัวย่อยไว้เรียบร้อย เมื่อต้องการใช้งานก็เพียงแต่ประกอบตัวย่อยลงไปและทำการต่อสายด้านที่ออกไปต่อกับโหลดเท่านั้น แต่ถ้าไม่มั่นใจก็ควรลองวัดไฟดูว่าได้มีการต่อไฟเข้าไปที่ตัวย่อยแล้วหรือยัง
ในกล่องคอนซูมเมอร์ยูนิตจะมีขั้วต่อสาย(Terminal) ไว้สำหรับต่อสายนิวทรัล และอาจยังไม่ได้ต่อสายเตรียมไว้ให้ เราจะต้องเตรียมต่อสายนี้เอง(บางยี่ห้อต่อมาให้แล้ว เราไม่ต้องต่ออีก) คอนซูมเมอร์ยูนิตบางรุ่นจะมีขั้วสำหรับต่อสายดินแยกออกมาต่างหาก เราจะต้องทำการต่อสายระหว่างขั้วต่อสายนิวทรัลเข้ากับขั้วต่อสายดิน บางรุ่นจะมีขั้วต่อสายมาให้ชุดเดียว ซึ่งจะใช้เป็นทั้งขั้วต่อสายนิวทรัลและขั้วต่อสายดิน ปกติเมื่ซื้อคอนซูมเมอร์ยูนิตจะมีไดอะแกรมการต่อสายมาให้ด้วย
คอนซูมเมอร์ยูนิตทั่วไปจะประกอบด้วยตัวเมนและมีที่สำหรับใส่ตัวย่อยไว้ให้ โดยจะมีบัสบาร์ต่อจากตัวเมนไปยังตัวย่อยไว้เรียบร้อย เมื่อต้องการใช้งานก็เพียงแต่ประกอบตัวย่อยลงไปและทำการต่อสายด้านที่ออกไปต่อกับโหลดเท่านั้น แต่ถ้าไม่มั่นใจก็ควรลองวัดไฟดูว่าได้มีการต่อไฟเข้าไปที่ตัวย่อยแล้วหรือยัง
ในกล่องคอนซูมเมอร์ยูนิตจะมีขั้วต่อสาย(Terminal) ไว้สำหรับต่อสายนิวทรัล และอาจยังไม่ได้ต่อสายเตรียมไว้ให้ เราจะต้องเตรียมต่อสายนี้เอง(บางยี่ห้อต่อมาให้แล้ว เราไม่ต้องต่ออีก) คอนซูมเมอร์ยูนิตบางรุ่นจะมีขั้วสำหรับต่อสายดินแยกออกมาต่างหาก เราจะต้องทำการต่อสายระหว่างขั้วต่อสายนิวทรัลเข้ากับขั้วต่อสายดิน บางรุ่นจะมีขั้วต่อสายมาให้ชุดเดียว ซึ่งจะใช้เป็นทั้งขั้วต่อสายนิวทรัลและขั้วต่อสายดิน ปกติเมื่ซื้อคอนซูมเมอร์ยูนิตจะมีไดอะแกรมการต่อสายมาให้ด้วย
วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558
เซฟตี้สวิตซ์
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับสับหรือปลดวงจรไฟฟ้า และป้องกันกระแสไฟเกิน เช่นเดียวกับคัทเอ๊าท์และคาร์ทริดจ์ฟิวส์ เซฟตี้สวิตซ์จะเอาใบมีดและฟิวส์ประกอบรวมมาในกล่องเดียวกัน กล่องนี้จะเปิดได้เมื่อใบมีดอยู่ในตำแหน่งปลดวงจรเท่านั้น
เซฟตี้สวิตซ์มีใช้ตั้งแต่กระแสต่ำๆ จนถึงหลายร้อยแอมแปร์ ขนาดของฟิวส์ที่ใช้ก็จะแตกต่างกันออกไป โดยเซฟตี้สวิตซ์จะสามารถใส่ฟิวส์ที่มีขนาดเล็กกว่าได้หลายขนาด แต่จะใส่ฟิวส์ขนาดใหญ่กว่าไม่ได้ โดยเซฟตี้สวิตซ์ชนิดใช้กับไฟ 1 เฟส จะมีขั้วให้ใส่ฟิวส์ได้ 2 ตัว ซึ่งออกแบบไว้ให้ใช้ไฟในประเทศสหรัฐอเมริกา ในการนำมาใช้ในประเทศไทยเส้นที่ต่อสายนิวทรัลจึงต้องต่อตรงด้วยสายทองแดง และใส่ฟิวส์ที่เส้นไฟเพียงตัวเดียว
เมื่อเกิดกระแสเกิน ฟิวส์จะขาด จำเป็นต้องต้องเปลี่ยนใหม่เช่นเดียวกับคาร์ทริดจ์ฟิวส์ แต่การจะทราบว่าฟิวส์ขาดหรือไม่ต้องใช้เครื่องมือวัด หรืออาจทดสอบง่ายๆ ด้วยการใช้ไขควงวัดไฟ และให้คำนึงอยู่เสมอว่าสายนิวทรัลห้ามต่อผ่านฟิวส์เช่นเดียวกับคาร์ทริดจ์ฟิวส์
เซฟตี้สวิตซ์มีใช้ตั้งแต่กระแสต่ำๆ จนถึงหลายร้อยแอมแปร์ ขนาดของฟิวส์ที่ใช้ก็จะแตกต่างกันออกไป โดยเซฟตี้สวิตซ์จะสามารถใส่ฟิวส์ที่มีขนาดเล็กกว่าได้หลายขนาด แต่จะใส่ฟิวส์ขนาดใหญ่กว่าไม่ได้ โดยเซฟตี้สวิตซ์ชนิดใช้กับไฟ 1 เฟส จะมีขั้วให้ใส่ฟิวส์ได้ 2 ตัว ซึ่งออกแบบไว้ให้ใช้ไฟในประเทศสหรัฐอเมริกา ในการนำมาใช้ในประเทศไทยเส้นที่ต่อสายนิวทรัลจึงต้องต่อตรงด้วยสายทองแดง และใส่ฟิวส์ที่เส้นไฟเพียงตัวเดียว
เมื่อเกิดกระแสเกิน ฟิวส์จะขาด จำเป็นต้องต้องเปลี่ยนใหม่เช่นเดียวกับคาร์ทริดจ์ฟิวส์ แต่การจะทราบว่าฟิวส์ขาดหรือไม่ต้องใช้เครื่องมือวัด หรืออาจทดสอบง่ายๆ ด้วยการใช้ไขควงวัดไฟ และให้คำนึงอยู่เสมอว่าสายนิวทรัลห้ามต่อผ่านฟิวส์เช่นเดียวกับคาร์ทริดจ์ฟิวส์
จุดที่ต่อสายไฟเข้าบ้าน
สายที่ดึงมาที่ตัวบ้านจะยึดด้วยไวร์โฮลเดอร์ จากนั้นจึงเดินเข้าแผงเมนสวิตซ์ ซึ่งสามารถเดินด้วยวิธีร้อยท่อหรือรัดคลิปกได้
กรณีเดินด้วยท่อ หากปล่อยปลายท่อด้านนอกอาคารอยู่ในตำแหน่งที่ฝนสาดไม่ถึง จะไม่ใช้หัวงูเห่าก็ได้
สายเมนที่เข้าสู่ตัวบ้านจะมาต่อเข้าที่เมนสวิตซ์หรือแผงรับไฟเข้า หน้าที่ของเมนสวิตซ์ คือ ปลด - สลับ(ตัด-ต่อ)ไฟฟ้าภายในอาคารทั้งหมด และยังทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ป้องกันวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร หรือเมื่อใช้ไฟฟ้าเกินขนาด
อุปกรณ์ที่ใช้เป็นเมนสวิตซ์ก็มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน โดยที่นิยมใช้ก็ได้แก่
คัทเอ๊าท์พร้อมฟิวส์
คัทเอ๊าท์และฟิวส์ เป็นอุปกรณ์คนละตัวกัน และทำหน้าที่ต่างกัน แต่ใช้งานร่วมกัน กล่าวคือ คัทเอ๊าท์เป็นอุปกรณ์สับหรือปลดวงจรไฟฟ้า ส่วนฟิวส์ก็มีหน้าที่ป้องกันการใช้ไฟเกินกำหนด
คัทเอ๊าท์ จะมีชนิดที่มีใบมีด 2 ใบ และ 3 ใบใช้ในวงจร 3 เฟส เมื่อเปิดฝาส่วนล่างของคัทเอ๊าท์ออก จะมีขั้วต่อสายและสกรูไว้สำหรับใส่ฟิวส์ชนิดเส้นหรือชนิดก้ามปู ในการใช้งานไม่ควรใช้ฟิวตะกั่ว ควรใส่ลวดทองแดงแทน และใช้คาร์ททริดจ์เป็นตัวป้องกันกระแสเกิน
คาร์ทริดจ์ฟิวส์ เป็นฟิวส์ที่บรรจุทรายในกรณีที่ฟิวส์ขาด ปุ่มที่อยู่ตรงปลายสุดของกระบอกฟิวส์ด้านใหญ่จะหลุดออกมา จะต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่จึงจะใช้งานต่อไปได้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานควรเปลี่ยนทั้งกระปุก ห้ามเปลี่ยนเฉพาะใส้ฟิวส์ข้างใน
ในการใช้งาน ตัวฟิวส์หรือเรียกว่ากระบอกฟิวส์ จะใส่เข้ากับขั้วหรือฐานฟิวส์ ขนาดของฐานฟิวส์ปกติจะใช้อยู่ 2 ขนาด คือ ขนาด 25 แอมแปร์ และ 63 แอมแปร์ แต่ฟิวส์ที่ใช้จะมีหลายขนาดตามโหลดและขนาดเครื่องวัด ซึ่งได้แก 6, 10, 16, 20, 25, 35, 50 และ 60 แอมแปร์
โดยฐานฟิวส์ขนาด 25 แอมแปร์ จะใส่กระบอกฟิวส์ที่มีขนาดเดียวกับฟิวส์หรือขนาดเล็กกว่าได้ แต่จะฟิวส์ที่มีขนาดใหญ่กว่าไม่ได้ และฐานฟิวส์ที่มีขนาด 63 แอมแปร์ ก็จะใส่ฟิวส์ที่มีขนาดไม่เกิน 63 แอมแปร์
ในการใช้งานจะต่อสายไฟทั้งสองเส้นผ่านคัทเอ๊าท์ก่อน จากนั้นจึงต่อสายเส้นที่มีไฟ (หรือสายเฟส) ผ่านฟิวส์โดยต่อเข้ากับฐานฟิวส์ ส่วยสายนิวทรัลซึ่งเป็นสายที่ไม่มีไฟ ไม่ต้องผ่านคาร์ทริดจ์ฟิวส์ การต่อนี้จะต้องใช้ความระมัดระวัง เช่นเดียวกับการต่อไฟชนิดเกลียวคือ ต้องต่อขั้วของฐานฟิวส์ส่วนที่ต่อกับเกลียวไว้ทางด้านออก(ด้านที่จะเดินสายต่อไปยังหลอดไฟหรือส่วนใช้งานอื่นๆ) เพื่อไม่ให้เกลียวมีไฟขณะที่ถอดฟิวส์
กรณีเดินด้วยท่อ หากปล่อยปลายท่อด้านนอกอาคารอยู่ในตำแหน่งที่ฝนสาดไม่ถึง จะไม่ใช้หัวงูเห่าก็ได้
สายเมนที่เข้าสู่ตัวบ้านจะมาต่อเข้าที่เมนสวิตซ์หรือแผงรับไฟเข้า หน้าที่ของเมนสวิตซ์ คือ ปลด - สลับ(ตัด-ต่อ)ไฟฟ้าภายในอาคารทั้งหมด และยังทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ป้องกันวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร หรือเมื่อใช้ไฟฟ้าเกินขนาด
อุปกรณ์ที่ใช้เป็นเมนสวิตซ์ก็มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน โดยที่นิยมใช้ก็ได้แก่
คัทเอ๊าท์พร้อมฟิวส์
คัทเอ๊าท์และฟิวส์ เป็นอุปกรณ์คนละตัวกัน และทำหน้าที่ต่างกัน แต่ใช้งานร่วมกัน กล่าวคือ คัทเอ๊าท์เป็นอุปกรณ์สับหรือปลดวงจรไฟฟ้า ส่วนฟิวส์ก็มีหน้าที่ป้องกันการใช้ไฟเกินกำหนด
คัทเอ๊าท์ จะมีชนิดที่มีใบมีด 2 ใบ และ 3 ใบใช้ในวงจร 3 เฟส เมื่อเปิดฝาส่วนล่างของคัทเอ๊าท์ออก จะมีขั้วต่อสายและสกรูไว้สำหรับใส่ฟิวส์ชนิดเส้นหรือชนิดก้ามปู ในการใช้งานไม่ควรใช้ฟิวตะกั่ว ควรใส่ลวดทองแดงแทน และใช้คาร์ททริดจ์เป็นตัวป้องกันกระแสเกิน
คัทเอ๊าท์ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด เรียกตามความสามารถในการรับกระแสเป็นแอมแปร์ เช่น ขนาด 35 แมแปร์ และ 60 แอมแปร์ เป็นต้น ปัจจุบันแบบนี้เริ่มไม่นิยมใช้แล้ว เนื่องจากคัทเอ๊าท์ที่ผลิตจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันมีกไม่ค่อยมีมาตรฐาน เมื่อใช้งานจะมีอัตราความเสี่ยงสูง
คาร์ทริดจ์ฟิวส์ เป็นฟิวส์ที่บรรจุทรายในกรณีที่ฟิวส์ขาด ปุ่มที่อยู่ตรงปลายสุดของกระบอกฟิวส์ด้านใหญ่จะหลุดออกมา จะต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่จึงจะใช้งานต่อไปได้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานควรเปลี่ยนทั้งกระปุก ห้ามเปลี่ยนเฉพาะใส้ฟิวส์ข้างใน
ในการใช้งาน ตัวฟิวส์หรือเรียกว่ากระบอกฟิวส์ จะใส่เข้ากับขั้วหรือฐานฟิวส์ ขนาดของฐานฟิวส์ปกติจะใช้อยู่ 2 ขนาด คือ ขนาด 25 แอมแปร์ และ 63 แอมแปร์ แต่ฟิวส์ที่ใช้จะมีหลายขนาดตามโหลดและขนาดเครื่องวัด ซึ่งได้แก 6, 10, 16, 20, 25, 35, 50 และ 60 แอมแปร์
โดยฐานฟิวส์ขนาด 25 แอมแปร์ จะใส่กระบอกฟิวส์ที่มีขนาดเดียวกับฟิวส์หรือขนาดเล็กกว่าได้ แต่จะฟิวส์ที่มีขนาดใหญ่กว่าไม่ได้ และฐานฟิวส์ที่มีขนาด 63 แอมแปร์ ก็จะใส่ฟิวส์ที่มีขนาดไม่เกิน 63 แอมแปร์
ในการใช้งานจะต่อสายไฟทั้งสองเส้นผ่านคัทเอ๊าท์ก่อน จากนั้นจึงต่อสายเส้นที่มีไฟ (หรือสายเฟส) ผ่านฟิวส์โดยต่อเข้ากับฐานฟิวส์ ส่วยสายนิวทรัลซึ่งเป็นสายที่ไม่มีไฟ ไม่ต้องผ่านคาร์ทริดจ์ฟิวส์ การต่อนี้จะต้องใช้ความระมัดระวัง เช่นเดียวกับการต่อไฟชนิดเกลียวคือ ต้องต่อขั้วของฐานฟิวส์ส่วนที่ต่อกับเกลียวไว้ทางด้านออก(ด้านที่จะเดินสายต่อไปยังหลอดไฟหรือส่วนใช้งานอื่นๆ) เพื่อไม่ให้เกลียวมีไฟขณะที่ถอดฟิวส์
การรับไฟฟ้าเข้าสู่บ้าน
เมื่อมีการยื่นคำขอการใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฯแล้ว ผู้ใช้บริการจะต้องเดินสายไฟภายในบ้านให้เสร็จเรียบร้อยตามมาตรฐานที่การไฟฟ้าฯกำหนด จากนั้นการไฟฟ้าฯจะเข้ามาตรวจสอบการเดินสายภายในว่าถูกต้องหรือไม่ ก่อนดำเนินการติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเพื่อใช้วัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าของบ้านเพื่อนำไปคำนวณเป็นค่าไฟฟ้าที่ต้องชำระ โดยปริมาณการใช้ไฟฟ้า 1 ยูนิต หรือ 1 หน่วย คือการใช้ไฟฟ้าคิดเป็น 1 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง หรือเขียนได้อีกแบบหนึ่งคือ 1 หน่วยเท่ากับ 1 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามีทั้งชนิด 1 เฟส และชนิด 3 เฟส ตามระบบไฟฟ้าที่ใช้งาน โดยที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าจะมีหน้าปัดแสดงตัวเลขหรือหน่วยการใช้ไฟฟ้า ลักษณะการแสดงหน่วยจะเหมือนกับเลขแสดงจำนวนกิโลเมตรของรถยนต์ แสดงจำนวนหน่วยเป็น 2 แบบ คือ แบบที่มีลักษณะหน่วยเป็นจุดทศนิยม และแบบที่ไม่มีลักษณะหน่วยซึ่งจะต่างกันตรงที่เลขหลักสุดท้ายของแบบที่มีหลักหน่วยจะมีสีที่แตกต่างออกไป
ในการอ่านของการไฟฟ้าฯจะอ่านตัวเลขจากซ้ายไปขวา อ่านเฉพาะจำนวนเต็ม ไม่อ่านทศนิยม เมื่ออ่านแล้วจะนำตัวเลขจากการอ่านครั้งใหม่ตั้งแล้วลบด้วยตัวเลขที่อ่านครั้งก่อนกับครั้งใหม่จะกินเวลาประมาณ 30 วัน
เมื่อการไฟฟ้าฯติดตั้งเครื่องวัดเรียบร้อยแล้ว จะเดินไฟฟ้าไปต่อกับสายของผู้ใช้ที่เตรียมไว้แล้ว(อาจเตรียมดึงไว้ที่หัวเสาหรือขดทิ้งไว้) สายที่โยงเข้าสู่บ้านนี้เรียกว่า "สายเมน" โดยขนาดของสายก็ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่การไฟฟ้ากำหนด ส่วนขนาดการรับไฟเข้ารั้รจะระบุเป็นกระแส จำนวนเฟสและแรงดัน โดยกระแสหรืออัตราการไหลของไฟฟ้าผ่านตัวนำนั้นจะมีขนาดตั้งแต่ 5 แอมแปร์ ซึ่งใช้ในอาคารบ้านเรือนทั่วไป กับขนาด 15 แอมแปร์ หรือหรือใหญ่กว่าสำหรับบ้านเรือนขนาดใหญ่ ส่วนแรงดันต่ำจะมีหน่วยเป็นโวลต์ ซึ่งโดยปกติจะไม่กล่าวถึงแรงดัน เนื่องจากแรงดันนั้นเป็นขนาดมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ คือ 220 โวลต์
ในการโยงสายไฟเข้าบ้านที่นิยมปฏิบัติกันมี 2 แบบ คือ
1. เดินสายไฟลอยในอากาศ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมมากในเอเซีย การติดตั้งแบบนี้จะมีมิเตอร์ติดอยู่ที่เสาไฟฟ้า และตัวรับไฟเข้าบ้านยึดติดอยู่ทางด้านนอกของอาคาร ส่วนแผงควบคุมไฟเรียกว่า เมนสวิตซ์ จะอยู่ภายในอาคารใกล้กับจุดรับไฟมากที่สุด
2. ฝังสายใต้ดินมายังอาคาร โดยเดินสายไฟไว้ในท่อโลหะหรือท่ออโลหะฝังไว้ใต้ดิน เพื่อป้องกันการชำรุดของสายไฟ และช่วยให้ไม่ต้องใช้เสาและสายไฟให้เกะกะ อย่างไรก็ตาม ควรเลือชนิดของสายไฟให้เหมาะสมด้วย
เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามีทั้งชนิด 1 เฟส และชนิด 3 เฟส ตามระบบไฟฟ้าที่ใช้งาน โดยที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าจะมีหน้าปัดแสดงตัวเลขหรือหน่วยการใช้ไฟฟ้า ลักษณะการแสดงหน่วยจะเหมือนกับเลขแสดงจำนวนกิโลเมตรของรถยนต์ แสดงจำนวนหน่วยเป็น 2 แบบ คือ แบบที่มีลักษณะหน่วยเป็นจุดทศนิยม และแบบที่ไม่มีลักษณะหน่วยซึ่งจะต่างกันตรงที่เลขหลักสุดท้ายของแบบที่มีหลักหน่วยจะมีสีที่แตกต่างออกไป
ในการอ่านของการไฟฟ้าฯจะอ่านตัวเลขจากซ้ายไปขวา อ่านเฉพาะจำนวนเต็ม ไม่อ่านทศนิยม เมื่ออ่านแล้วจะนำตัวเลขจากการอ่านครั้งใหม่ตั้งแล้วลบด้วยตัวเลขที่อ่านครั้งก่อนกับครั้งใหม่จะกินเวลาประมาณ 30 วัน
เมื่อการไฟฟ้าฯติดตั้งเครื่องวัดเรียบร้อยแล้ว จะเดินไฟฟ้าไปต่อกับสายของผู้ใช้ที่เตรียมไว้แล้ว(อาจเตรียมดึงไว้ที่หัวเสาหรือขดทิ้งไว้) สายที่โยงเข้าสู่บ้านนี้เรียกว่า "สายเมน" โดยขนาดของสายก็ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่การไฟฟ้ากำหนด ส่วนขนาดการรับไฟเข้ารั้รจะระบุเป็นกระแส จำนวนเฟสและแรงดัน โดยกระแสหรืออัตราการไหลของไฟฟ้าผ่านตัวนำนั้นจะมีขนาดตั้งแต่ 5 แอมแปร์ ซึ่งใช้ในอาคารบ้านเรือนทั่วไป กับขนาด 15 แอมแปร์ หรือหรือใหญ่กว่าสำหรับบ้านเรือนขนาดใหญ่ ส่วนแรงดันต่ำจะมีหน่วยเป็นโวลต์ ซึ่งโดยปกติจะไม่กล่าวถึงแรงดัน เนื่องจากแรงดันนั้นเป็นขนาดมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ คือ 220 โวลต์
ในการโยงสายไฟเข้าบ้านที่นิยมปฏิบัติกันมี 2 แบบ คือ
1. เดินสายไฟลอยในอากาศ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมมากในเอเซีย การติดตั้งแบบนี้จะมีมิเตอร์ติดอยู่ที่เสาไฟฟ้า และตัวรับไฟเข้าบ้านยึดติดอยู่ทางด้านนอกของอาคาร ส่วนแผงควบคุมไฟเรียกว่า เมนสวิตซ์ จะอยู่ภายในอาคารใกล้กับจุดรับไฟมากที่สุด
2. ฝังสายใต้ดินมายังอาคาร โดยเดินสายไฟไว้ในท่อโลหะหรือท่ออโลหะฝังไว้ใต้ดิน เพื่อป้องกันการชำรุดของสายไฟ และช่วยให้ไม่ต้องใช้เสาและสายไฟให้เกะกะ อย่างไรก็ตาม ควรเลือชนิดของสายไฟให้เหมาะสมด้วย
การจ่ายกระแสไฟฟ้าจากสถานีไฟฟ้า
ระบบไฟฟ้าที่การไฟฟ้าฯส่งจ่ายไปยังบ้านเรือนทั่วไฟนั้นเราเรียกว่า ระบบแรงดันต่ำ ซึ่งแบ่งเป็น2ระบบด้วยกัน ซึ่งในการใช้งานนั้น การไฟฟ้าฯจะพิจารณาให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าว่าจะใช้เป็นระบบ 1 เฟส หรือ 3 เฟส โดยพิจารณาจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ประเภท และจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้าน
ระบบไฟฟ้า 1 เฟส คือ ระบบไฟฟ้าที่มีสาย 2 เส้น คือ สายเส้นที่มีไฟฟ้าหนึ่งเส้นเรียกว่า สายเส้นเฟสหรือสายไฟ เขียนแทนตัวอักษรย่อว่า L หรือ P และอีกเส้นที่เหลือไม่มีไฟเรียกว่า สายนิวทรัล(Neutral) หรือสายศูนย์ เขียนแทนด้วยอักษรย่อว่า N ทดสอบได้โดยใช้ไขควงวัดไฟแตะสายเส้นเฟสหรือเส้นไฟ หลอดไฟเรืองแสงที่ภายในไขควงจะติด สำหรับสายนิวทรัลจะไม่ติด ไฟฟ้าที่จ่ายให้บ้านที่อยู่อาศัยทั่วไปเป็นแบบ 1 เฟส แรงดัน 220 โวลต์ ใช้สำหรับบ้านอยู่อาศัยทั่วไปที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่มากนัก เช่น มีเครื่องทำน้ำอุ่น และเครื่องปรับอากาศ 2 - 3 ครื่อง
ระบบไฟฟ้า 3 เฟส เป็นระบบที่มีสายเส้นไฟจำนวน 3 เส้น และมีสายนิวทรัลเพิ่มขึ้นมาอีก 1 เส้น จึงมีสายรวมกัน 4 เส้น ระบบ 3 เฟส สามารถต่อใช้งานเป็นระบบ 1 เฟสได้ โดยการต่อจากเฟสใดเฟสหนึ่งและสายนิวทรัลอีกเส้นหนึ่ง แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเฟสเส้นใดเส้นหนึ่งกับสายนิวทรัลมีค่า 220 โวลต์ และแรงดันระหว่างสายเฟสด้วยกันมีค่า 380 โวลต์ ระบบนี้จึงเรียกว่าระบบ 3 เฟส 4 สาย 220/380 โวลต์ ระบบนี้มีข้อดือ สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้มากกว่าระบบ 1 เฟส ถึง 3 เท่า จึงเหมาะกับสถานที่ที่ต้องการใช้ไฟมากๆ เช่น อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เป็นต้น สถานที่ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นไปอีกก็จะต้องใช้ไฟฟ้าเป็นระบบแรงสูง ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าต้องติดตั้งหม้อแปลงเองเพื่อปรับแรงดันให้ได้ตามที่ต้องการใช้งาน
วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น
สำหรับกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าสู่บ้านเรือนทั่วไปนั้นก็ใช้หลักการไหลแบบเดียวกัน คือ เริ่มจากเครื่องกำเนินดไฟฟ้า ณ โรงงานผลิตไฟฟ้า ผ่านกระแสไฟฟ้าแรงดันสูงตามสายไฟ(ซึ่งประกอบด้วยเส้นลวดอะลูมิเนียมจำนวนมาก) มาจนกระทั่งถึงสถานีไฟฟ้าย่อย ซึ่งมีหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นหรือต่ำลงได้ตามความต้องการใช้งาน ทั้งนี้เนื่องจากการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านมาตามสายไฟในระยะทางไกลจะทำให้มีการสูญเสียแรงดันส่วนหนึ่ง เมื่อส่งไฟฟ้ามาถึงพื้นที่ที่ต้องการใช้ไฟจะต้องลดแรงดันลงระดับหนึ่งเพื่อลดอันตราย เมื่อแปลงแรงดันให้พอเหมาะแล้วก็จะส่งตามสายมายังหม้อแปลงที่ติดอยู่ตามเสาไฟฟ้าในแหล่งชุมชนนั้นๆ เพื่อแปลงแรงดันอีกครั้งก่อนส่งผ่านเข้าสู่อาคารบ้านเรือน เมื่อมีการใช้ไฟฟ้าจากกิจกรรมต่างๆในบ้านเรือนก็จะไหลกลับไปตามสายอีกเส้นหนึ่งไปสู่แหล่งกำเนิดอีกครั้ง ซึ่งเท่ากับว่ามีการครบวงจรการไหลของกระแสไฟฟ้า
ช่างไฟฟ้าในบ้าน
ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้นต้องใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีคนไม่มากนักที่จะให้ความสนใจหรือเข้าใจ ในเรื่องของไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ในบ้าน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเมือพูดถึงไฟฟ้าแล้วเราจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องลึกลับซับซ้อนและอัตราย ต้องอาศัยผู้มีความรู้ความชำนาญเท่านั้นจึงจะหยิบจับหรือทำได้ ถึงแม้ความจริงเกี่ยวกับไฟฟ้าจะเป็นดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ไฟฟ้าก็ไม่ได้อันตรายร้ายแรง หากว่าเรารู้จักหลักการและมีความเข้าใจเพียงพอ ซึ่งสิ่งนี้นับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน
ต่อไปนี้จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับไฟฟ้าที่ทุกคนควรจะได้รู้เอาไว้ เพราะไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องราวลึกลับซับซ้อนหรือมีอันตรายอย่างที่คิด หากมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ มีความระมัดระวัง รู้จักการทำงานที่ปลอดภัย มือสมัครเล่นอย่างเราๆ ก็สามารถซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสวิตซ์ ปลั๊กไฟ หลอดไฟ หรือปัญหาในเบื้องต้นได้ด้วยตนเองอย่างไม่ยากเย็น ทั้งช่วยประหยัดเงินและเวลาในการหาช่างมาซ่อมแซม
ไฟฟ้าคืออะไร
พจนานุกรมได้ให้ความหมายคำว่า "ไฟฟ้า" ว่าคือพลังงานรูปหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแยกตัวออกมาหรือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน หรือโปรตอน หรืออนุภาคอื่น ที่มีคุณสมบัติแสดงอำนาจคล้ายคลึงกับอิเล็กตรอน หรือโปรตอน ใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดพลังงานอื่น เช่น ความร้อน แสงสว่าง การเคลื่อนที่
ไฟฟ้ามาจากใหน
ไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ทั่วโลกทุวันนี้มีแหล่งกำเนิดมาจากหลายแหล่งด้วยกัน คือ ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าสธรรมชาติ น้ำ ลม แสงอาทิตย์ และเซลล์ไฟฟ้า (แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่ให้กำลังไฟฟ้าด้วยปฏิกริยาเคมีภายในเซลล์) โดยการนำเอาพลังงานจากแหล่งต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นมาใช้เดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ผลิตไฟฟ้าส่งไปตามสาย
ไฟฟ้าทำงานอย่างไร
คุณสมบัติที่สำคัญชองไฟฟ้าคือ สามารถเคลื่อนไหลไปได้โดยอาศัย "ตัวนำไฟฟ้" ซึ่งเรามักเรียกปรากฎการณ์ไหลของไฟฟ้าว่า "กระแสไฟฟ้า" โดยการไหลของกระแสไฟฟ้านั้น จะไหลติดต่อกันจนครบวงจร โดยเริ่มจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าผ่านตัวนำและไหลกลับมายังแหล่งจ่ายไฟฟ้าตัวเดิมอีกครั้ง เรียกว่า "ครบวงจร" แต่ถ้ามีการตัดทางเดินของกระแสไไฟ้าด้วยการให้ตัวนำไฟฟ้าขาดออกจากัน ก็จะทำให้ไม่ครบวงจร ซึ่งการทำงานของสวิตซ์ไฟที่เราใช้กันอยู่ก็ใช้วิธีเดียวกันนี้ ดังนั้นหากเราสัมผัสกับวงจรเพียงด้านใดด้านหนึ่งโดยไม่ทำให้กระแสครบวงจร ไฟฟ้าก็ไม่อาจทำอันตรายเราได้ แต่อย่างไรก็ตาม ไฟฟ้าอาจไหลผ่านทางอื่นได้ ทำให้เราเป็นอันตราย ดังนั้นเมื่อไม่มั่นใจก็ไม่ควรสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)