เมื่อมีการยื่นคำขอการใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฯแล้ว ผู้ใช้บริการจะต้องเดินสายไฟภายในบ้านให้เสร็จเรียบร้อยตามมาตรฐานที่การไฟฟ้าฯกำหนด จากนั้นการไฟฟ้าฯจะเข้ามาตรวจสอบการเดินสายภายในว่าถูกต้องหรือไม่ ก่อนดำเนินการติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเพื่อใช้วัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าของบ้านเพื่อนำไปคำนวณเป็นค่าไฟฟ้าที่ต้องชำระ โดยปริมาณการใช้ไฟฟ้า 1 ยูนิต หรือ 1 หน่วย คือการใช้ไฟฟ้าคิดเป็น 1 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง หรือเขียนได้อีกแบบหนึ่งคือ 1 หน่วยเท่ากับ 1 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามีทั้งชนิด 1 เฟส และชนิด 3 เฟส ตามระบบไฟฟ้าที่ใช้งาน โดยที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าจะมีหน้าปัดแสดงตัวเลขหรือหน่วยการใช้ไฟฟ้า ลักษณะการแสดงหน่วยจะเหมือนกับเลขแสดงจำนวนกิโลเมตรของรถยนต์ แสดงจำนวนหน่วยเป็น 2 แบบ คือ แบบที่มีลักษณะหน่วยเป็นจุดทศนิยม และแบบที่ไม่มีลักษณะหน่วยซึ่งจะต่างกันตรงที่เลขหลักสุดท้ายของแบบที่มีหลักหน่วยจะมีสีที่แตกต่างออกไป
ในการอ่านของการไฟฟ้าฯจะอ่านตัวเลขจากซ้ายไปขวา อ่านเฉพาะจำนวนเต็ม ไม่อ่านทศนิยม เมื่ออ่านแล้วจะนำตัวเลขจากการอ่านครั้งใหม่ตั้งแล้วลบด้วยตัวเลขที่อ่านครั้งก่อนกับครั้งใหม่จะกินเวลาประมาณ 30 วัน
เมื่อการไฟฟ้าฯติดตั้งเครื่องวัดเรียบร้อยแล้ว จะเดินไฟฟ้าไปต่อกับสายของผู้ใช้ที่เตรียมไว้แล้ว(อาจเตรียมดึงไว้ที่หัวเสาหรือขดทิ้งไว้) สายที่โยงเข้าสู่บ้านนี้เรียกว่า "สายเมน" โดยขนาดของสายก็ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่การไฟฟ้ากำหนด ส่วนขนาดการรับไฟเข้ารั้รจะระบุเป็นกระแส จำนวนเฟสและแรงดัน โดยกระแสหรืออัตราการไหลของไฟฟ้าผ่านตัวนำนั้นจะมีขนาดตั้งแต่ 5 แอมแปร์ ซึ่งใช้ในอาคารบ้านเรือนทั่วไป กับขนาด 15 แอมแปร์ หรือหรือใหญ่กว่าสำหรับบ้านเรือนขนาดใหญ่ ส่วนแรงดันต่ำจะมีหน่วยเป็นโวลต์ ซึ่งโดยปกติจะไม่กล่าวถึงแรงดัน เนื่องจากแรงดันนั้นเป็นขนาดมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ คือ 220 โวลต์
ในการโยงสายไฟเข้าบ้านที่นิยมปฏิบัติกันมี 2 แบบ คือ
1. เดินสายไฟลอยในอากาศ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมมากในเอเซีย การติดตั้งแบบนี้จะมีมิเตอร์ติดอยู่ที่เสาไฟฟ้า และตัวรับไฟเข้าบ้านยึดติดอยู่ทางด้านนอกของอาคาร ส่วนแผงควบคุมไฟเรียกว่า เมนสวิตซ์ จะอยู่ภายในอาคารใกล้กับจุดรับไฟมากที่สุด
2. ฝังสายใต้ดินมายังอาคาร โดยเดินสายไฟไว้ในท่อโลหะหรือท่ออโลหะฝังไว้ใต้ดิน เพื่อป้องกันการชำรุดของสายไฟ และช่วยให้ไม่ต้องใช้เสาและสายไฟให้เกะกะ อย่างไรก็ตาม ควรเลือชนิดของสายไฟให้เหมาะสมด้วย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น