"ตำแหน่ง" เป็นแค่ช่วงเวลาหนึ่งของการทำงาน..
ส่วน "ตำนาน" นั้นเป็นเรื่องราวที่อยู่ในใจผู้คน..
อย่าเป็นผู้นำแค่อยู่ในตำแหน่ง
แต่ขอให้นั่งในใจของทีมงาน..
"เชื่อมั่นในความดี ศรัทธาในองค์กร สักวันคงได้ดี ถ้าไม่ได้ดีก็ให้ถือว่า มันเป็นลิขิตแห่งฟ้า
เป็นบัญชาแห่งสวรรค์"
วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
คำตอบของชีวิต
1. ทุกคนต้องเจอคลื่นชีวิต สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่าคุณจะรับมือกับมันได้อย่างไร? (ยามเจอกับคลื่นชีวิต จงบอกกับตัวเองว่าไม่ใช่คุณคนเดียวที่เจอ)
2. คนที่แกร่งจริงไม่ใช่คนที่สยบทุกสิ่งได้ แต่เป็นคนที่ไม่ถูกสยบจากสิ่งต่างๆ
3. วันเวลาไม่อาจย้อนคืน ถนอมผู้คน เรื่องราวในเวลาให้ดีที่สุด
4. สภาพจิตที่ต่างกัน ย่อมมองเรื่องราวไม่เหมือนกัน อย่าตัดสินคนอื่นจากความคิดของตนเอง
5. ดูแลอารมณ์ของตัวเองให้ดี เพราะไม่ว่าจะเป็นสุข เศร้า เหงา เจ็บปวด ใครก็รู้สึกแทนคุณได้
6. บางช่วงเวลาของชีวิต คุณต้องกล้าหาญ กล้าที่จะรัก กล้าที่จะลืม กล้าที่จะถอย กล้าที่จะเดิน
7. เมื่อชีวิตเสียสูญ หากอยากร้องไห้ก็ร้องไปเถอะ(ตำรวจไม่จับหรอก) มันก็แค่ความทรงจำครั้งหนึ่งในชีวิต ร้องแล้วให้ลุก เพราะสิ่งดีๆรอคุณอยู่ในสถานีถัดไป
8. อย่ามัวแต่มองเท้าคนอื่น จนลืมเดินเส้นทางของตัวเอง
9. อย่าลืมเปลี่ยนความเคยชินแย่ๆที่คุณเป็นอยู่ เพราะเมื่อคุณเปลี่ยน โลกของคุณก็เปลี่ยนตาม
10. ฟ้าเบื้องบนจะใช้สามวิธีนี้เป็นคำตอบกับคนที่เคยทุ่มเท คือ พยักหน้าให้ในสิ่งที่คุณปรารถนา ส่ายหัวให้เมื่อคุณอยากได้มากกว่านั้น และเมื่อคุณยืนหยัดรอ ฟ้าจะมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่คุณ
2. คนที่แกร่งจริงไม่ใช่คนที่สยบทุกสิ่งได้ แต่เป็นคนที่ไม่ถูกสยบจากสิ่งต่างๆ
3. วันเวลาไม่อาจย้อนคืน ถนอมผู้คน เรื่องราวในเวลาให้ดีที่สุด
4. สภาพจิตที่ต่างกัน ย่อมมองเรื่องราวไม่เหมือนกัน อย่าตัดสินคนอื่นจากความคิดของตนเอง
5. ดูแลอารมณ์ของตัวเองให้ดี เพราะไม่ว่าจะเป็นสุข เศร้า เหงา เจ็บปวด ใครก็รู้สึกแทนคุณได้
6. บางช่วงเวลาของชีวิต คุณต้องกล้าหาญ กล้าที่จะรัก กล้าที่จะลืม กล้าที่จะถอย กล้าที่จะเดิน
7. เมื่อชีวิตเสียสูญ หากอยากร้องไห้ก็ร้องไปเถอะ(ตำรวจไม่จับหรอก) มันก็แค่ความทรงจำครั้งหนึ่งในชีวิต ร้องแล้วให้ลุก เพราะสิ่งดีๆรอคุณอยู่ในสถานีถัดไป
8. อย่ามัวแต่มองเท้าคนอื่น จนลืมเดินเส้นทางของตัวเอง
9. อย่าลืมเปลี่ยนความเคยชินแย่ๆที่คุณเป็นอยู่ เพราะเมื่อคุณเปลี่ยน โลกของคุณก็เปลี่ยนตาม
10. ฟ้าเบื้องบนจะใช้สามวิธีนี้เป็นคำตอบกับคนที่เคยทุ่มเท คือ พยักหน้าให้ในสิ่งที่คุณปรารถนา ส่ายหัวให้เมื่อคุณอยากได้มากกว่านั้น และเมื่อคุณยืนหยัดรอ ฟ้าจะมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่คุณ
วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
เมืองร้อยเอ็ด
อยู่ร้อยเอ็ด อำเภอเมือง ให้เรืองรุ่ง
เรื่องยากยุ่งไม่มี ศรีสมเด็จ
ประทุมรัตต์ เปล่งปลั่งดั่งเมืองเพชร
งานสรรพเสร็จหนองฮี แสนดีงาม
แดนเกษตรวิสัย ห่างไกลเศร้า
โพนทองเล่า สดใส ใจอร่าม
สุวรรณภูมิ เลื่องลือระบือนาม
สุขทุกยาม ธวัชบุรี ศรีวิไล
อาจสามารถเมืองสระบุศย์สุดล้ำเลิศ
นามประเสริฐ เมยวดี ศรีสดใส
นามหนองพอก เรืองรอง ผ่องอำไพ
เสลภูมิ เลิศวิไล ไร้โรคา
จตุรพักตรพิมานมั่งมีศรีวิเลิศ
บุญชูเชิด โพธิ์ชัย ให้สง่า
ทุ่งเขาหลวง เด่นดัง ทั้งพารา
ปวงประชาเมืองสรวงดวงเด่นไกลเงินทองไหลมาเทมา
ชาวเชียงขวัญ เบิกบาน สราญจิต
มวลมิ่งมิตร จังหาร งานสดใส
รวยกุศล สุขสม พนมไพร
แดนโพนทรายใสสดหมดทุกข์เอย
เรื่องยากยุ่งไม่มี ศรีสมเด็จ
ประทุมรัตต์ เปล่งปลั่งดั่งเมืองเพชร
งานสรรพเสร็จหนองฮี แสนดีงาม
แดนเกษตรวิสัย ห่างไกลเศร้า
โพนทองเล่า สดใส ใจอร่าม
สุวรรณภูมิ เลื่องลือระบือนาม
สุขทุกยาม ธวัชบุรี ศรีวิไล
อาจสามารถเมืองสระบุศย์สุดล้ำเลิศ
นามประเสริฐ เมยวดี ศรีสดใส
นามหนองพอก เรืองรอง ผ่องอำไพ
เสลภูมิ เลิศวิไล ไร้โรคา
จตุรพักตรพิมานมั่งมีศรีวิเลิศ
บุญชูเชิด โพธิ์ชัย ให้สง่า
ทุ่งเขาหลวง เด่นดัง ทั้งพารา
ปวงประชาเมืองสรวงดวงเด่นไกลเงินทองไหลมาเทมา
ชาวเชียงขวัญ เบิกบาน สราญจิต
มวลมิ่งมิตร จังหาร งานสดใส
รวยกุศล สุขสม พนมไพร
แดนโพนทรายใสสดหมดทุกข์เอย
วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
อย่าให่ยาฆ่าคุณ
สิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์คือปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่มห่ม และยารักษาโรค หากขาดไปเพียงสักปัจจัยเดียวชีวิตก็ไปต่อได้ยาก! โดยเฉพาะเรื่อง “ยา” เราวางใจได้แค่ไหนกับยาจากโรงพยาบาลที่แพทย์สั่งให้หรือยาที่เราซื้อจากร้านที่อนุญาตให้จำหน่ายว่าจะปลอดภัยต่อชีวิตและช่วยรักษาโรคได้ผลจริงๆ
รู้หรือไม่ว่าในความจริงแล้ว 90% ของยาไม่มีผลในการรักษา ยาแค่ทำให้อาการทุเลาระยะหนึ่งเท่านั้น และ แม้คุณจะใช้ในขนาดธรรมดา (ขนาดรักษา) ยาก็ยังมีผลข้างเคียงอยู่เสมอ เช่น ยาแก้แพ้ทำให้ง่วงนอน ยาแก้ปวดลดไข้ทำให้ระคายกระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นต้น
มีคุณหมอญี่ปุ่นชื่อดังคนหนึ่งที่พบความจริงมากมายจากข้อมูลเรื่องยาและโรคภัยจากทั่วโลก และคลุกคลีกับผู้ป่วยมากว่า 40 ปี จะมาบอกข้อเท็จจริง คำแนะนำ และความรู้ที่คุณอาจจยังไม่รู้เกี่ยวกับเรื่องยา วัคซีน สุขภาพองค์รวม โรคภัยไข้เจ็บ และมะเร็ง เป็นแนวคิดที่สวนกระแสจากวงการแพทย์ทั่วไป คุณหมอคนนี้ขอเตือนคุณอย่างจริงใจ เพราะไม่เช่นนั้นแทนที่ “ยา” จะรักษา กลับ “ฆ่า” คุณได้
นายแพทย์คนโด มะโกะโตะ หมอคุณธรรมแห่งยุคและบุคคลเกียรติคุณผู้บุกเบิกการรักษามะเร็งเต้านมโดยไม่ตัดทิ้ง มาพลิกความเชื่อเดิมๆ และทบทวนดูว่า “ยา” จำเป็นจริงหรือ และใช้ยาให้น้อยที่สุดหรือไม่ใช้เลยก็มีสุขภาพดีได้จริงหรือไม่ คุณหมอคนโดจะถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้เรื่องยาในแง่มุมต่างๆ ว่ายาส่งผลต่อร่างกายที่ตรงกันข้ามกับการเยียวยาให้หายป่วย ดังนี้
1.การใช้ยาเพื่อลดไข้หรือยับยั้งอาการท้องเสียกลับทำให้อาการรุนแรงขึ้นหรือเป็นนานขึ้น
2.ถ้าใช้ยาแก้ปวดหรือแผ่นบรรเทาอาการปวดจนติด อาการปวดจะค่อยๆ รุนแรงและดื้อยามากขึ้น
3.การใช้ยาลดความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอล ทำให้สมองขาดเลือด หลงลืม และสมองเสื่อม
4.การลดระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไปทำให้ช็อกหมดสติ มีโอกาสเสียชีวิตเฉียบพลัน
5.ยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เช่น ยาระงับประสาท ยาแก้โรคซึมเศร้า ยานอนหลับ ทำให้เหนื่อยล้าและมีโอกาสเสพติดได้ นำมาซึ่งเหตุร้ายแรงมากมาย เช่น ฆ่าตัวตาย ก่อเหตุฆาตกรรม หรือใช้ความรุนแรง เป็นต้น
6.ยาที่ได้ชื่อว่าป้องกันอาการหลงลืม ทำให้การดำเนินโรคช้าลง ไม่มีการพิสูจน์ผลของยาแต่อย่างใด แต่กลับมีผลข้างเคียงน่ากลัว เช่น เพ้อ คลื่นไส้ หมดสติ เป็นต้น คิดดูแล้วไม่กินย่อมดีต่อสมองมากกว่า
7.วิตามินไม่ช่วยการรักษา การกินบีตาแคโรทีนมากเกินไปจะเพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็ง
8.ยาแก้หวัด ยาลดอักเสบในโพรงจมูกที่จำหน่ายในท้องตลาดทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังกลุ่มอาการสตีเวนส์-จอห์นสัน
9.ยาต้านมะเร็งเพียงแต่ทำให้มะเร็งหดลงระยะหนึ่งแล้วโตขึ้นใหม่ ทั้งยังทำลายเซลล์ปกติอีกด้วย จึงไม่ได้ช่วยอยู่ได้นานขึ้นแต่อย่างใด
“ กินเนื้อสัตว์และผักให้มาก หมั่นพูดหมั่นคุย อย่าโหยหาอดีต อย่ากังวลเรื่องอนาคต ให้ความสำคัญกับปัจจุบัน นี่คือสิ่งสำคัญสำหรับการมีสุขภาพดี”
วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ทฤษฎีใหม่
ทฤษฎีใหม่
ปัญหาหลักของเกษตรกรในอดีต จนถึงปัจจุบันที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่เกษตรที่อาศัยน้ำฝน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในเขต ที่มีฝนค่อนข้างน้อยและส่วนมากเป็นนาข้าวและพืชไร่ เกษตรกรยังคงทำการเพาะปลูก ได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น และมีความเสี่ยงกับความเสียหาย อันเนื่องมาจากความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศและฝนทิ้งช่วง แม้ว่าจะมีการขุดบ่อหรือสระเก็บน้ำไว้ใช้บ้างแต่ก็มีขนาดเพียงพอ หรือมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นปัญหาให้มีน้ำใช้ไม่เพียงพอ รวมทั้งระบบการปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆ และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียว
ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานพระราชดำริ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบากดังกล่าว ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤติ โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำ ได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก พระราชดำรินี้ ทรงเรียกว่า "ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทฤษฎีใหม่ : ทำไมใหม่
1. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็ก ออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
2. มีการคำนวณโดยหลักวิชาการ เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียง ต่อการเพาะปลูกได้ตลอดปี
3. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเกษตรกรรายย่อย โดยมีถึง 3 ขั้นตอน
ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น
การจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน
ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30:30:30:10 ซึ่งหมายถึง
-พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและ ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่าง ๆ
-พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน สำหรับครอบครัวให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
-พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย
-พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ 10% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์และโรงเรือนอื่น ๆ
หลักการและแนวทางสำคัญ
1.เป็นระบบการผลิตแบบพอเพียง ที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ชุมชนต้องมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทำนองเดียวกับการ "ลงแขก" แบบดั้งเดิม เพื่อลดค่าใช้จ่าย
2.เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนจะต้องบริโภค ดังนั้น จึงประมาณว่าครอบครัวหนึ่งทำนา 5 ไร่ จะทำให้มีข้าวพอกินตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ
3.ต้องมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วงได้อย่างพอเพียง ดังนั้น จึงจำเป็น ต้องกันที่ดินส่วนหนึ่งไว้ขุดสระน้ำ โดยมีหลักว่าต้องมีน้ำเพียงพอที่จะทำการเพาะปลูกได้ตลอด ปี ทั้งนี้ได้พระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางว่า ต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อการเพาะ ปลูก 1 ไร่ โดยประมาณ ฉะนั้น เมื่อทำนา 5 ไร่ ทำพืชไร่หรือไม้ผลอีก 5 ไร่ (รวมเป็น 10 ไร่) จะต้องมีน้ำ 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี
ดังนั้น หากมีพื้นที่ 15 ไร่ จึงมีสูตรคร่าว ๆ ว่า แต่ละแปลงประกอบด้วย
- นา 5 ไร่
- พืชไร่พืชสวน 5 ไร่
- สระน้ำ 3 ไร่ ลึก 4 เมตร จุประมาณ 19,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็น ปริมาณน้ำที่เพียง พอที่จะสำรองไว้ใช้ยามฤดูแล้ง
- ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ 2 ไร่ รวมทั้งหมด 15 ไร่
4.การจัดแบ่งแปลงที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและคำนึงจากอัตราถือครองที่ดินถัวเฉลี่ยครัว เรือนละ 15 ไร่ อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรมีพื้นที่ถือครองน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ ก็สามารถใช้อัตราส่วน 30:30:30:10 ไปเป็นเกณฑ์ปรับใช้ได้ กล่าวคือ
30% ส่วนแรก ขุดสระน้ำ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯลฯ ได้ด้วย)
30% ส่วนที่สอง ทำนา
30% ส่วนที่สาม ปลูกพืชไร่ พืชสวน (ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้สร้างบ้าน พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร เป็นต้น)
10% สุดท้าย เป็นที่อยู่อาศัยและอื่นๆ (ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)
อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวเป็นสูตรหรือหลักการโดยประมาณเท่านั้น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมโดยขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ดิน ปริมาณน้ำฝนและสภาพแวดล้อม เช่น ในกรณีภาคใต้ที่มีฝนตกชุกกว่าภาคอื่น หรือหากพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำมาเติมสระได้ต่อเนื่อง ก็อาจลดขนาดของบ่อหรือสระน้ำให้เล็กลง เพื่อเก็บพื้นที่ไว้ใช้ประโยชน์อื่นต่อไปได้
เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ฉะนั้น เกษตรกรก็จะพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นพออยู่พอกิน เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สอง และขั้นที่สาม ต่อไปตามลำดับ
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง
เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูป กลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้าน
(๑) การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)
- เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก
(๒) การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต)
- เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดี และลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
(๓) ความเป็นอยู่(กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ)
- ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
(๔) สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)
- แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน
(๕) การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา)
- ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง
(๖) สังคมและศาสนา
- ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว
กิจกรรมทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ
ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม
เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้านเอกชนมาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้รับประโยชน์ร่วมกันกล่าวคือ
1. เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูง(ไม่ถูกกดราคา)
2. ธนาคารกับบริษัทสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)
3. เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ ราคาขายส่ง)
4. ธนาคารกับบริษัทจะสามารถกระจายบุคลากร (เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น)
ประโยชน์ของทฤษฎีใหม่
จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานในโอกาสต่าง ๆ นั้น พอจะสรุปถึงประโยชน์ของทฤษฎีใหม่ได้ ดังนี้
1. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยาก และเลี้ยงตนเองได้
2. ในหน้าแล้งมีน้ำน้อยก็สามารถเอาน้ำที่เก็บไว้ในสระ มาปลูกพืชผักต่าง ๆ ได้ แม้แต่ข้าวก็ยังปลูกได้ โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
3. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี ทฤษฎีใหม่นี้ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยขึ้นได้
4. ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัว และช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วยข้อสำคัญที่ควรพิจารณา
1)การดำเนินการตามทฤษฎีใหม่นั้น มีปัจจัยประกอบหลายประการ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น ฉะนั้นเกษตรกรควรขอรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ด้วย
2)การขุดสระน้ำนั้น จะต้องสามารถเก็บกักน้ำได้ เพราะสภาพดินในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน เช่น ดินร่วน ดินทราย ซึ่งเป็นดินที่ไม่สามารถอุ้มน้ำได้ หรือเป็นดินเปรี้ยว ดินเค็ม ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับพืชที่ปลูกได้ ฉะนั้น จะต้องพิจารณาให้ดีและควรขอรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดิน หรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน
3) ขนาดพื้นที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและคำนึงจากอัตราการถือครองที่ดิน ถัวเฉลี่ยครัวเรือนละ 15 ไร่ แต่ให้พึงเข้าใจว่าอัตราส่วนเฉลี่ยขนาดพื้นที่นี้มิใช่หลักตายตัว หากพื้นที่การถือครองของเกษตรกรจะมีน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ ก็สามารถนำอัตราส่วน นี้ (30:30:30:10) ไปปรับใช้ได้
4) การปลูกพืชหลายชนิด เช่น ข้าวซึ่งเป็นพืชหลัก ไม้ผล พืชผัก พืชไร่ และพืชสมุนไพร อีกทั้งยังมีการเลี้ยงปลา หรือสัตว์อื่น ๆ ซึ่งเกษตรกรสามารถนำมาบริโภคได้ตลอดทั้งปี เป็นการลดค่าใช้จ่ายในส่วนของอาหารสำหรับครอบครัวได้ และส่วนที่เหลือสามารถจำหน่ายได้เป็นรายได้แก่ครอบครัวได้อีก
5) ความร่วมมือร่วมใจของชุมชน จะเป็นกำลังสำคัญในการปฏิบัติตามหลักทฤษฎีใหม่ เช่น การลงแรงช่วยเหลือกัน หรือที่เรียกว่าการลงแขก นอกจากจะทำให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชนแล้ว ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานได้อีกด้วย
6) ในระหว่างการขุดสระน้ำ จะมีดินที่ถูกขุดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก หน้าดินซึ่งเป็นดินดีควรนำไปกองไว้ต่างหาก เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชต่าง ๆ ในภายหลัง โดยนำมาเกลี่ยคลุมดินชั้นล่างที่เป็นดินไม่ดีซึ่งอาจนำมาถมทำขอบสระน้ำหรือยกร่องสำหรับปลูกไม้ผล
เงื่อนไขหรือปัญหาในการดำเนินงาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 ณ ศาลาดุสิดาลัย มีความตอนหนึ่ง ดังนี้ "...การทำทฤษฎีใหม่นี้มิใช่ของง่ายๆ แล้วแต่ที่ แล้วแต่โอกาส และแล้วแต่งบประมาณ เพราะว่าเดี๋ยวนี้ประชาชนทราบถึงทฤษฎีใหม่นี้กว้างขวางและแต่ละคนก็อยากได้ ให้ทางราชการขุดสระแล้วช่วย แต่มันไม่ใช่สิ่งง่ายนัก บางแห่งขุดแล้วไม่มีน้ำ แม้จะมีฝนน้ำก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่ามันรั่ว หรือบางทีก็เป็นที่ที่รับน้ำไม่ได้ ทฤษฎีใหม่นี้จึงต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสมด้วย...ฉะนั้น การที่ปฏิบัติตามทฤษฎีใหม่หรืออีกนัยหนึ่ง ปฏิบัติเพื่อหาน้ำให้แก่ราษฎร เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ง่าย ต้องช่วยกันทำ..." พืชที่ควรปลูกและสัตว์ที่ควรเลี้ยง
ไม้ผลและผักยืนต้น : มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน ละมุด ส้ม กล้วย น้อยหน่า มะละกอ กระท้อน แคบ้าน มะรุม สะเดา ขี้เหล็ก กระถิน เป็นต้น
ผักล้มลุกและดอกไม้ : มันเทศ เผือก ถั่วฝักยาว มะเขือ มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รัก และซ่อนกลิ่น เป็นต้น
เห็ด : เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นต้น
สมุนไพรและเครื่องเทศ : หมาก พลู พริกไทย บุก บัวบก มะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝก และพืชผักบางชนิด เช่น กระเพรา โหระพา สะระแหน่ แมงลัก และตะไคร้ เป็นต้น
ไม้ใช้สอยและเชื้อเพลิง : ไผ่ มะพร้าว ตาล มะขามเทศ สะแก ทองหลาง จามจุรี กระถิน ยูคาลิปตัส สะเดา ขี้เหล็ก ประดู่ ชิงชัน และยางนา เป็นต้น
พืชไร่ : ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย มัน สำปะหลัง ละหุ่ง นุ่น เป็นต้น พืชไร่หลายชนิดอาจเก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ และจำหน่ายเป็นพืชประเภทผักได้และมีราคาดีกว่าเก็บเมื่อแก่ พืชไร่เหล่านี้ ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ อ้อย และมันสำปะหลัง เป็นต้น การที่จะทำให้ทฤษฎีใหม่สมบูรณ์ได้นั้นคือ สระเก็บกักน้ำจะต้องทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มความสามารถ โดยต้องมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถเพิ่มเติมน้ำในสระเก็บกักน้ำให้เต็มอยู่เสมอ ดังเช่นในกรณีของการทดลองที่วัดมงคลชัยพัฒนา จังหวัดสระบุรี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสนอวิธีการ ดังนี้
ระบบทฤษฎีใหม่ที่สมบูรณ์ อ่างใหญ่ เติมอ่างเล็ก อ่างเล็ก เติมสระน้ำ
คือสระน้ำที่เกษตรกรขุดขึ้นตามทฤษฎีใหม่ เมื่อเกิดช่วงขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง เกษตรกรสามารถสูบน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ และหากน้ำในสระน้ำไม่เพียงพอก็ขอรับน้ำจากอ่างห้วยหินขาว (อ่างเล็ก) ซึ่งได้ทำระบบส่งน้ำเชื่อมต่อลงมายังสระน้ำที่ได้ขุดไว้ในแต่ละแปลงซึ่งจะช่วยให้สามารถมีน้ำใช้ตลอดปี
กรณีที่เกษตรกรใช้น้ำกันมาก อ่างห้วยหินขาว (อ่างเล็ก) ก็อาจมีปริมาณน้ำไม่พอเพียง หากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักหรือมีโครงการใหญ่ที่สมบูรณ์แล้ว ก็ใช้วิธีการผันน้ำจากป่าสัก คืออ่างใหญ่ ต่อลงมายังอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาว (อ่างเล็ก) ก็จะช่วยให้มีปริมาณน้ำใช้มากพอตลอดปีสำหรับสระของเกษตรกร
การอนุรักษ์ดินและน้ำ
การอนุรักษ์ดินและน้ำ คือ การใช้น้ำหรือการจัดการทรัพยากรดินและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยป้องกันการชะล้างการพังทลายของดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สามารถทำการเกษตรได้ตลอดไป
การอนุรักษ์ดิน เพื่อรักษาความสามารถในการผลิตของดินให้ยืนนาน และเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยเนื้อที่ดิน
หลักการอนุรักษ์ดิน
1. ลดอัตราการกัดกร่อนของดิน
2. เพิ่มหรือรักษาระดับปริมาณของธาตุอาหารและอินทรียวัตถุในดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
3. ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้อยู่สภาพที่เหมาะสม
4. ทำให้สามารถใช้น้ำอย่างประหยัด
การอนุรักษ์น้ำ ทรัพยากรน้ำมีความสำคัญเหมือนกับทรัพยากรดิน ดังนั้นกิจกรรมการอนุรักษ์น้ำจึงต้องมีการดำเนินการควบคู่กันไป
หลักการอนุรักษ์น้ำ
1. ลดการป้องกันการสูญเสียน้ำโดยการระเหยของน้ำบนผิวดิน
2. เพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้นนานที่สุด
3. ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด
พื้นที่การอนุรักษ์ดินและน้ำ
จากรายงานของกรมพัฒนาที่ดิน (2538) ได้ระบุว่าในปี พ.ศ. 2524 มีพื้นที่ดินที่เกิดปัญหาการ ชะล้างพังทลายในระดับความรุนแรงมาก มีพื้นที่ 107.69 ล้านไร่ พื้นที่ดังกล่าวกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศที่พบมากที่สุด คือ บริเวณที่มีความลาดชันทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ ภาคตะวันออก ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ที่ถูกบุกรุกถากถาง เพื่อขยายพื้นที่ทำการเพาะปลูกในปี พ.ศ. 2538 มีพื้นที่ดินที่เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายเพิ่มขึ้นเป็น 134.54 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่จำเป็นต้องมี การจัดการโดยวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำ
วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำ คือ วิธีการที่นำมาใช้ในพื้นที่หนึ่งโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อยับยั้งหรือชะลออัตราการชะล้างพังทลายของดิน โดยอาศัยหลักการสำคัญ คือ เมื่อฝนตกลงมาในที่ใดที่หนึ่งจะพยายามให้มี การเก็บกักน้ำไว้ ณ ที่นั้น เพื่อให้น้ำไหลซึมลงไปในดินเป็นประโยชน์แก่พืชที่ปลูก
วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำโดยใช้ระบบพืช
เป็นวิธีการจัดระบบพืชโดยการผสมผสานกันระหว่างมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำและการจัดการระบบพืชปลูก ได้แก่
1. การปลูกพืชเป็นแถบ
2. การปลูกพืชตามแนวระดับ
3. การปลูกพืชคลุมดิน
4. การปลูกพืชบำรุงดิน
5. การปลูกพืชแซม
6. การปลูกพืชเหลื่อมฤดู
7. การปลูกพืชหมุนเวียน
8. การปลูกแถบหญ้าตามแนวระดับ
9. การปลูกพืชไม้พุ่มเป็นแถบตามแนวระดับ
10. การทำคันเศษซากพืชตามแนวระดับ
วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำโดยใช้ระบบพืช จะต้องปฏิบัติดังนี้
1. ไม่เผาทำลายเศษซากพืช
2. ไม่ทำไร่เลื่อนลอย
3. ไถพรวนให้ถูกวิธี ไม่ไถพรวนขึ้นลงตามความลาดเทของพื้นที่แต่ไถพรวนขวางความลาดเทของพื้นที่และไม่ทำการไถพรวนบ่อยครั้ง
4. ปลูกพืชให้ถูกวิธี ปลูกพืชตระกูลถั่วบำรุงดินคลุมดินและปลูกตามแนวระดับ
5. ปรับปรุงบำรุงดิน ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด
6. บนพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงเกิน 35 เปอร์เซ็นต์ ไม่ควรทำการเกษตร แต่ถ้ามีความจำเป็นจะต้องทำคันดินเป็นขั้นบันไดขวางความลาดเทของพื้นที่ จัดทำร่องน้ำและแหล่งเก็บกักน้ำให้ไหลลงเฉพาะแห่ง และยกร่องปลูกพืชบนแนวคันดินระดับเดียวกัน
วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
การใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสม
1. ห้ามใช้สารเคมีที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ตามเอกสารสนับสนุน รายชื่อวัตถุอันตรายห้ามใช้ในการเกษตร และต้องใช้สารเคมีให้สอดคล้องกับรายการสารเคมีที่ประเทศคู่ค้าอนุญาตให้ใช้
2. อ่านฉลากคำแนะนำ เพื่อให้ทราบคุณสมบัติ และวิธีการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง
3. ผู้ประกอบการและแรงงานที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ควรรู้จักศัตรูพืช ชนิดและอัตราการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช การเลือกใช้เครื่องพ่นและอุปกรณ์หัวฉีด รวมทั้งวิธีการพ่นสารเคมีที่ถูกต้อง โดยต้องตรวจสอบเครื่องพ่นสารให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานตลอดเวลา เพื่อป้องกันสารพิษเปื้อนเสื้อผ้าและร่างกายของผู้พ่น ต้องสวมเสื้อผ้าอุปกรณ์ป้องกันสารพิษ ได้แก่ หน้ากากหรือผ้าปิดจมูก ถุงมือ หมวก และรองเท้าเพื่อป้องกันอันตรายจากสารพิษ
4. เตรียมสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และใช้ให้หมดในคราวเดียว ไม่ควรเหลือติดค้างในถังพ่น
5. ปิดฝาภาชนะบรรจุสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้สนิทเมื่อเลิกใช้ และเก็บในสถานที่เก็บสารเคมี
6. เมื่อใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชหมดแล้ว ให้ล้างภาชนะบรรจุสารเคมีด้วยน้ำ 2-3 ครั้ง แล้วเทลงในถังพ่นสารเคมี ปรับปริมาณน้ำตามความเข้มข้นที่กำหนด ก่อนนำไปใช้พ่นป้องกันกำจัดศัตรูพืช
7. ควรพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชในช่วงเช้าหรือเย็นขณะลมสงบ หลีกเลี่ยงการพ่นในเวลาแดดจัดหรือลมแรง และขณะปฏิบัติงานผู้พ่นต้องอยู่เหนือลมตลอดเวลา
8. หลังจากพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทุกครั้ง ผู้พ่นต้องอาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที เสื้อผ้าที่ใส่ขณะพ่นสารต้องซักให้สะอาดทุกครั้ง
9. ต้องหยุดใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชก่อนการเก็บเกี่ยวตามที่ระบุไว้ในฉลากกำกับการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชแต่ละชนิด
10. ให้ปฏิบัติตามแผนควบคุมการผลิตของสับปะรดโรงงาน
ความสะอาดปลอดภัยและกำจัดของเสียและวัสดุเหลือใช้
1. ภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้หมดและล้างสารเคมีออกหมดแล้วตามคำแนะนำในข้อ 6 ต้องไม่นำกลับมาใช้อีก และต้องทำให้ชำรุดเพื่อป้องกันการนำกลับมาใช้ แล้วนำไปทิ้งในสถานที่ที่จัดไว้สำหรับทิ้งภาชนะบรรจุสารเคมีโดยเฉพาะ หรือทำลายโดยการฝังดินห่างจากแหล่งน้ำ และให้มีความลึกมากพอที่สัตว์ไม่สามารถคุ้ยขึ้นมาได้ ห้ามเผาทำลาย
2. ส่วนต่างๆของพืชที่มีโรคและแมลงเข้าทำลายต้องเผาทำลายนอกแปลง
3. เศษพืช หรือกิ่งที่ตัดแต่งจากต้นไม้และไม่มีโรคเข้าทำลาย สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสดได้
4. จำแนก และแยกประเภทของขยะให้ชัดเจน เช่น กระดาษ กลิ่งกระดาษ พลาสติก แก้ว น้ำมัน สารเคมี และเศษซากพืช เป็นต้น รวมทั้งควรมีถังขยะวางให้เป็นระเบียบ หรือระบุจุดทิ้งขยะให้ชัดเจน
การตรวจสภาพ และการซ่อมบำรุง
1. มีการตรวจสภาพเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตร เช่น เครื่องพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช อุปกรณ์การเก็บเกี่ยว ก่อนนำออกไปใช้งาน และต้องทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จแล้ว และก่อนนำไปเก็บในสถานที่เก็บ
2. มีการตรวจซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตร ตามแผนการบำรุงรักษาที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งบันทึกผลการตรวจซ่อมทุกครั้ง ลงใบแบบบันทึก
3. เครื่องมือ อุปกรณ์ และภาชนะที่ใช้ในการบรรจุ และขนส่งผลผลิต ต้องมีการทำความสะอาดทุกครั้งก่อนการใช้งาน และเมื่อใช้งานเสร็จแล้วต้องทำความสะอาดก่อนนำไปเก็บ
4. กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องอาศัยความเที่ยงตรงในการปฏิบัติงาน ต้องมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงอย่างสม่ำเสมอแล้วแต่กรณี หากพบว่ามีความคลาดเคลื่อนต้องดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนใหม่ เพื่อให้อุปกรณ์ดังกล่าวมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานเมื่อนำมาใช้งาน
หลักการใช้สารกำจัดวัชพืช
การป้องกันกำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมีนั้น เป็นวิธีการที่กำลังได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะเชื่อว่าการใช้สารกำจัดวัชพืชเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้ โดยที่การใช้สารกำจัดวัชพืชอาจใช้ต้นทุนต่ำกว่าการกำจัดด้วยวิธีการอื่น ๆ อย่างไรก็ดีการใช้สารกำจัดวัชพืชแต่ละครั้งต้องพิจารณาถึงข้อดี – ข้อเสีย
วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560
การจัดการโรคพืช
แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วสารกำจัดเชื้อราและสารกำจัดเชื้อแบคทีเรีย จะมีความเป็นพิษต่ำกว่าสารกำจัดแมลง แต่เราก็ควรพยายามลดการใช้สารเหล่านั้นเท่าที่จะเป็นไปได้ ในระบบการจัดการศัตรูพืชวิธีผสมผสานนั้นจะต้องมีการค้นหาวิธีการอื่นๆ มาใช้จัดการโรคพืชเป็นลำดับแรก
การจัดการศัตรูพืชนั้นมีอยู่หลายวิธี แต่เกษตรกรหลายๆคนมักเลอกใช้วิธีการควบคุมด้วยสารเคมีกำจัดแมลงสังเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีการที่อันตรายและเกิดการทำลายล้างสูงที่สุด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม สารกำจัดศัตรูพืชสังเคราะห์ควรจะเป็นเพียงทางเลือกสุดท้ายหลังจากที่ได้ลองใช้ทางเลือกอื่นๆ แล้ว
การจัดการแมลงสามารถทำได้โดย:
1.การใช้พืชพันธุ์ต้านทานหรือทนทาน
2.การปลูกพืชหมุนเวียน
3.การปลูกพืชสลับ
4.สารสกัดจากพืช (เช่น สกัดจากสะเดา)
5.ชีวภัณฑ์: โรคแมลง
- บาซิลลัส ทูริงเยนซิส (บีที)
- เชื้อไวรัส เอ็น พี วี
- ไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีมา
- เชื้อราบิวเวอร์เรีย
6.การควบคุมทางชีวภาพ
- ตัวห้ำ
- ตัวเบียน
7.การใช้กับดัก
- เช่น กับดักกาวเหนียวสีเหลือง
8.การจัดการสภาพอากาศในแปลงปลูกพืช
- การตัดแต่ง
- การถอนแยก
- การให้น้ำ
- การคลุมดิน
9.การควบคุมด้วยสารเคมี
- ใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายเท่านั้น
- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีพิษต่ำที่สุดที่สามารถหาได้
- หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และคาร์บาเมต
- ห้ามใช้สารเคมีก่อมะเร็ง หรือสารที่มีผลยับยั้งต่อมไร้ท่อ
- ก่อนการใช้สารเคมีใดๆ ควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีชนิดนั้นๆ ก่อน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)