ไฟฟ้าจากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าของการไฟฟ้าฯมายังเมนสวิตซ์จะถูกแบ่งออกเป็นวงจรย่อยๆหลายวงจรเพื่อความสะดวกในการใช้งาน และเพื่อไม่ให้โหลดในแต่ละวงจรมากเกินไป การแบ่งวงจรย่อยต่างๆสามารถแบ่งได้หลายแบบตามความต้องการ อาทิ
1. แบ่งตามลักษณะของโหลด เช่น แสงสว่าง เต้ารับ เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
2. แบ่งตามพื้นที่ วิธีนี้จะแบ่งโหลดที่ติดตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันเป็นวงจรเดียวกัน เช่น ชั้นบน ชั้นล่าง ห้องครัว ห้องนอน ห้องรับแขก และไฟสนาม เป็นต้น
3. แบบผสม เป็นการนำสองแบบข้างต้นมาผสมกัน โดยทั่วไปจะแยกตามพื้นที่ก่อน เช่น ชั้นบนกับชั้นล่างจะแยกวงจรกัน แต่จะรวมเต้ารับกับแสงสว่างไว้ด้วยกันและแยกวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรือมีการใช้งานพิเศษออกต่างหาก เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องสูบน้ำ เป็นต้น
วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
การเดินสายไฟในบ้าน
สายไฟที่ใช้กันอยู่ในบ้านนั้นเป็นสายไฟฟ้าสำหรับใช้กับไฟแรงต่ำ คือ 220 โวลต์ มีลักษณะเป็นสายไฟแกนคู่ หุ้มฉนวน มีลักษณะแบน ภายในมีสายทองแดงหุ้มด้วยฉนวนพีวีซีในแต่ละเส้น แล้วนำมาติดรวมกันด้วยฉนวนภายนอกอีกครั้งหนึ่ง สายประเภทนี้จะผลิตมาเป็นขด ขดละ 100 เมตร โดยขนาดที่ใช้กันทั่วไปก็มีหน้าตัดตั้งแต่ 0.5 - 35 ตารางมิลลิเมตร การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับระดับของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านโหลดนั้นๆ อาทิ วงจรแสงสว่างจะใช้สายคู่ขนาด 1 ตารางมิลลิเมตร วงจรเต้ารับ และอุปกรณ์ไฟฟ้า จะใช้ขนาด 1.5 ตารางมิลลิเมตร และวงจรมักมีชุดฟิวส์ป้องกันกระแสเกิน เป็นฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ กรณีเดินร้อยท่อจะใช้เป็นสายเดี่ยว
การดูว่าสายไฟมีขนาดถูกต้องหรือไม่นั้นก็ให้ดูที่เปลือกของสายไฟ ปกติจะระบุมาตรฐานการผลิตขนาดสาย อุณหภูมิ การใช้งาน และแรงดันไฟฟ้า สำหรับชนิดของสายอาจเป็นชื่อเรียก เช่น VAF หรือระบุเป็นตารางของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น TIS 11-2531 Table 2 ซึ่งหมายถึงสาย VAF หรือสายพีวีซีคู่ ชนิดแบนนั่นเอง และสายพีวีซีคู่นี้จะมีสายอยู่สองสีด้วยกันคือ สีดำ ใช้เดินเป็นสายเส้นไฟ และสีเทา ใช้เดินเป็นสายนิวทรัล
ปัจจุบันทางการไฟฟ้าฯ ได้กำหนดให้บางวงจร โดยเฉพาะวงจรเต้ารับในอาคารบ้านเรือนใช้ไฟแบบ 3 แกน ซึ่งเป็นสายทองแดงหุ้มฉนวนมีสายสีเขียวเพิ่มมาอีก 1 เส้น รวมเป็น 3 เส้น ประกบอยู่ในสายสายเดียว สายสีเขียวจะใช้เป็นสายดินเพื่อป้องกันไฟดูดเมื่อมีไฟรั่วเครื่องใช้ไฟฟ้า
"บาร์โธโลมีโอ คริสโตโฟรี" ผู้คิดค้นเปียโน ตัวแรกของโลก
"บาร์โธโลมีโอ คริสโตโฟรี" ได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นเปียโนตัวแรกของโลก ซึ่งวันที่ 4 พฤษภาคม 2558 นี้ จะเป็นวันครบรอบวันเกิด 360 ปีของเขา
เขาเกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ปีค.ศ. 1655 ที่เมืองปาดัวร์ ประเทศอิตาลี ทำงานอยู่กับเจ้าชายเฟอดินานแห่งอิตาลี่ ในฐานะ “ผู้ดูแลเครื่องดนตรี” โดยเขาเป็นผู้เชียวชาญการทำ Harpsichord (ฮาร์ปซิคอร์ด เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ในยุคบาโรค ประเภทเครื่องดีด โดยมีการพัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภทพิณ และกีตาร์ กลไกการเกิดเสียงจะใช้การเกี่ยวดึงสายโลหะซึ่งมีขนาด และความยาวแตกต่างกันเพื่อให้ได้เสียงความถี่ต่างๆ การเล่นเครื่องดนตรีนี้จะใช้ คีย์บอร์ด (Keyboard) ในการสร้างกลไกในการดึงสาย)
ผลงานที่มีชื่อเสียงและทำให้คนทั่วไปจดจำเขาได้คือ การสร้างเปียโนเครื่องแรกขึ้นในปี ค.ศ. 1726 ซึ่งเป็นเปียโนที่มีกลไกการทำงานค่อนข้างจะสมบูรณ์ โดยเปียโน (Piano) เป็นชื่อที่เขาเรียกย่อมาจากชื่อเต็มๆ ว่า Piano et Forte (หมายถึง เบา และ ดัง) เพราะเปียโนเป็นเครื่องดนตรีสามารถผลิตเสียงเบาหรือดังได้ โดยสามารถทำเสียง เบาและดังได้โดยใช้ระยะเวลาเพียงเสี้ยววินาที และเป็นเครื่องดนตรีที่มีความกว้างของ เสียง (Range) ถึง 88 เสียง ซึ่งเครื่องดนตรี Keyboard อื่นๆ ทำไม่ได้ ซึ่งการที่เปียโนทำเสียงเบาและดังได้เช่นนั้น ทำให้ สามารถใช้บรรเลงเพลงซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้คนฟังได้อารมณ์สุนทรีย์
ซึ่งเปียโนหลังแรกถือกำเนิดขึ้นจากคริสโตโฟรี ได้ถูกสร้างขึ้นมาโดยที่ไม่ต้องมีต้นแบบใดๆ ทั้งสิ้น โดยเขาสามารถคิดค้นวิธีการที่ทำให้ค้อนตีลงบนสายและเด้งกลับทันทีได้อย่างอัจฉริยะ (ถ้าค้อนตีสายแล้วไม่เด้งกลับเสียงจะไม่ออก เพราะสายจะไม่สั่น) แต่ว่าเปียโนของคริสโตโฟรีนี้ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่ก็ถือว่าเป็นเปียโนต้นแบบที่ได้รับการพัฒนามาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน
เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มกราคม ปีค.ศ. 1731 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
เพราะเขา ทำให้เรามีเครื่องดนตรีที่มีเสียงไพเราะอย่างลึกล้ำเช่นเปียโนมาจนถึงทุกวันนี้
ปียโน (ย่อมาจาก เปียโนฟอเต) เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงโดยการกดลิ่มนิ้ว (คีย์บอร์ด) มักใช้นิยมบรรเลงเพลงแนว คลาสสิก และ แจ๊ส แม้ว่าเปียโนจะมีขนาดใหญ่และหนักทำให้ไม่สามารถพกพาได้ และมีราคาค่อนข้างแพง แต่เปียโนก็เป็นเครื่องดนตรีที่ได้เปรียบเครื่องดนตรีมากมาย เสียงของเปียโนสามารถเข้ากับเครื่องดนตรีเกือบทุกชนิด ดังนั้นเปียโนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแบบบรรเลงเดี่ยว, แชมเบอร์, คลอเสียง หรือแม้กระทั่งร่วมกับวง ออร์เคสตรา
ฝาครอบและแผ่นครอบของเปียโนอะคูสติกจะทำมาจากไม้ ในขณะที่กระดานเสียง (soundboard) จะถูกทำจากเหล็กกล้า และขึงด้วยสายโลหะ ลิ่มนิ้วของเปียโนมาตรฐาน มีอยู่ทั้งหมด 88 คีย์ (คีย์ขาว 52, คีย์ดำ 36) ช่วงคีย์ปกติจะมีสายโลหะอยู่ 3 เส้นในหนึ่งคีย์ และคีย์เบสจะมีสายโลหะเส้นใหญ่อยู่ 1–2 เส้นในหนึ่งคีย์ เมื่อกดคีย์ จะเกิดเป็นเสียงโน้ตดนตรีที่มีความถี่การสั่นพ้องแตกต่างกันออกไป และเมื่อปล่อยคีย์ เสียงก็จะถูกตัด หากต้องการให้เสียงกังวานและลากยาวก็สามารถทำให้ โดยการเหยียบเพดัลขวา (คันเหยียบ) ที่อยู่บริเวณด้านล่างของเปียโนค้างไว้
ที่มา http://www.zcooby.com/bartolomeo-cristofori-who-invented-the-piano/
เขาเกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ปีค.ศ. 1655 ที่เมืองปาดัวร์ ประเทศอิตาลี ทำงานอยู่กับเจ้าชายเฟอดินานแห่งอิตาลี่ ในฐานะ “ผู้ดูแลเครื่องดนตรี” โดยเขาเป็นผู้เชียวชาญการทำ Harpsichord (ฮาร์ปซิคอร์ด เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ในยุคบาโรค ประเภทเครื่องดีด โดยมีการพัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภทพิณ และกีตาร์ กลไกการเกิดเสียงจะใช้การเกี่ยวดึงสายโลหะซึ่งมีขนาด และความยาวแตกต่างกันเพื่อให้ได้เสียงความถี่ต่างๆ การเล่นเครื่องดนตรีนี้จะใช้ คีย์บอร์ด (Keyboard) ในการสร้างกลไกในการดึงสาย)
ผลงานที่มีชื่อเสียงและทำให้คนทั่วไปจดจำเขาได้คือ การสร้างเปียโนเครื่องแรกขึ้นในปี ค.ศ. 1726 ซึ่งเป็นเปียโนที่มีกลไกการทำงานค่อนข้างจะสมบูรณ์ โดยเปียโน (Piano) เป็นชื่อที่เขาเรียกย่อมาจากชื่อเต็มๆ ว่า Piano et Forte (หมายถึง เบา และ ดัง) เพราะเปียโนเป็นเครื่องดนตรีสามารถผลิตเสียงเบาหรือดังได้ โดยสามารถทำเสียง เบาและดังได้โดยใช้ระยะเวลาเพียงเสี้ยววินาที และเป็นเครื่องดนตรีที่มีความกว้างของ เสียง (Range) ถึง 88 เสียง ซึ่งเครื่องดนตรี Keyboard อื่นๆ ทำไม่ได้ ซึ่งการที่เปียโนทำเสียงเบาและดังได้เช่นนั้น ทำให้ สามารถใช้บรรเลงเพลงซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้คนฟังได้อารมณ์สุนทรีย์
ภาพแสดงหลักการทำงานของ Piano et Forte
ซึ่งเปียโนหลังแรกถือกำเนิดขึ้นจากคริสโตโฟรี ได้ถูกสร้างขึ้นมาโดยที่ไม่ต้องมีต้นแบบใดๆ ทั้งสิ้น โดยเขาสามารถคิดค้นวิธีการที่ทำให้ค้อนตีลงบนสายและเด้งกลับทันทีได้อย่างอัจฉริยะ (ถ้าค้อนตีสายแล้วไม่เด้งกลับเสียงจะไม่ออก เพราะสายจะไม่สั่น) แต่ว่าเปียโนของคริสโตโฟรีนี้ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่ก็ถือว่าเป็นเปียโนต้นแบบที่ได้รับการพัฒนามาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน
เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มกราคม ปีค.ศ. 1731 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
เพราะเขา ทำให้เรามีเครื่องดนตรีที่มีเสียงไพเราะอย่างลึกล้ำเช่นเปียโนมาจนถึงทุกวันนี้
ปียโน (ย่อมาจาก เปียโนฟอเต) เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงโดยการกดลิ่มนิ้ว (คีย์บอร์ด) มักใช้นิยมบรรเลงเพลงแนว คลาสสิก และ แจ๊ส แม้ว่าเปียโนจะมีขนาดใหญ่และหนักทำให้ไม่สามารถพกพาได้ และมีราคาค่อนข้างแพง แต่เปียโนก็เป็นเครื่องดนตรีที่ได้เปรียบเครื่องดนตรีมากมาย เสียงของเปียโนสามารถเข้ากับเครื่องดนตรีเกือบทุกชนิด ดังนั้นเปียโนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแบบบรรเลงเดี่ยว, แชมเบอร์, คลอเสียง หรือแม้กระทั่งร่วมกับวง ออร์เคสตรา
ฝาครอบและแผ่นครอบของเปียโนอะคูสติกจะทำมาจากไม้ ในขณะที่กระดานเสียง (soundboard) จะถูกทำจากเหล็กกล้า และขึงด้วยสายโลหะ ลิ่มนิ้วของเปียโนมาตรฐาน มีอยู่ทั้งหมด 88 คีย์ (คีย์ขาว 52, คีย์ดำ 36) ช่วงคีย์ปกติจะมีสายโลหะอยู่ 3 เส้นในหนึ่งคีย์ และคีย์เบสจะมีสายโลหะเส้นใหญ่อยู่ 1–2 เส้นในหนึ่งคีย์ เมื่อกดคีย์ จะเกิดเป็นเสียงโน้ตดนตรีที่มีความถี่การสั่นพ้องแตกต่างกันออกไป และเมื่อปล่อยคีย์ เสียงก็จะถูกตัด หากต้องการให้เสียงกังวานและลากยาวก็สามารถทำให้ โดยการเหยียบเพดัลขวา (คันเหยียบ) ที่อยู่บริเวณด้านล่างของเปียโนค้างไว้
ที่มา http://www.zcooby.com/bartolomeo-cristofori-who-invented-the-piano/
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)