วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

การโยงสายไฟเข้าบ้าน

ระยะห่างของระเบียงกับสายไฟตามกฎฯของการไฟฟ้า


การโยงพาดสายใกล้หน้าต่างบ้านตามกฏของการไฟฟ้า


ระยะความสูงเหนือถนนหรือทางเดินตามกฏของการไฟฟ้า


การติดตั้งฝาครอบท่อรับสายแบบหัวงูเห่าตามกฏของการไฟฟ้า

สายโยงพาดระหว่างเสากับลูกถ้วยควรอยู่ต่ำกว่าหัวงูเห่า(Service Entrance cap) ซึ่งในทางปฏิบัติมักทำไม่ได้เนื่องจากพื้นที่มีจำกัด ดังนั้นการติดตั้งควรให้หัวงูเห่าห่างจากลูกถ้วยไม่เกิน 24 นิ้ว ในทางด้านใดด้านหนึ่ง

การพิจารณาเลือกเมนสวิตซ์

การเลือกเมนสวิตซ์แต่ละชิดขึ้นอยู่กับการใช้งานและค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม เมนสวิตซ์แต่ละชนิดจะมีข้อดีหรือข้อด้อยที่ควรพิจารณาคือ

คัทเอ๊าท์พร้อมฟิวส์  เหมาะสำหรับบ้านอยู่อาศัยขนาดเล็กที่ใช้เครื่องวัดขนาดไม่เกิน 15 แอมแปร์ 1 เฟส มีราคาถูกกว่าชนิดอื่นๆ แต่มักมีปัญหาในการใช้งาน เช่น จุดต่อสายหลวม ทำให้เกิดความร้อน เมื่อฟิวส์ขาดต้องซื้อฟิวส์มาเปลี่ยนใหม่ ทำให้ยุ่งยากในการใช้งาน

เซฟตี้สวิตซ์  ใช้กับเครื่องวัดขนาดใหญ่ได้ทุกขนาด ราคาแพงดว่าและมีความปลอดภัยในการใช้งานสูงกว่าคัทเอ๊าท์พร้อมฟิวส์ แต่ราคาถูกกว่าคอนซูมเมอร์ยูนิต มีความยุ่งยากในการเปลี่ยนฟิวส์เช่นเดียวกันกับคัทเอ๊าท์พร้อมฟิวส์ จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้นัก

คอนซูมเมอร์ยูนิต  เป็นเมนสวิตซ์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด สะดวกในการใช้งาน ไม่ต้องมีการต่อสายมาก ทำให้หมดปัญหาเรื่องจุดต่อสายร้อน เมื่อเซอร์กิตเบกเกอร์ปลดวงจรก็สามารถสับเข้าใหม่โดยไม่ต้องเปลี่ยนอะไรใหม่ เป็นแบบที่แนะนำให้ใช้ แต่ราคาแพงกว่าชนิดอื่นๆ


เมื่อต่อสายจากภายนอกเข้าเมนสวิตซ์แล้ว จึงต่อสายไฟไปใช้งานตามจุดต่างๆที่ต้องการได้ทันที ในกรณรนี้จะใช้กับอาคารขนาดเล็กๆที่มีการใช้ไฟไม่มากนัก สายไฟฟ้าที่ใช้ควรมีขนาดไม่เล็กกว่า 2.5 ตารางมิลลิเมตร(ปกติจะใช้ขนาด 2.5 ตารางมิลลิเมตร หรือ 4 ตารางมิลลิเมตร)

ส่วนบ้านอยู่อาศัยหรืออาคารขนาดกลางที่มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น(ประมาณ 10 จุดขึ้นไป) จะมีการแบ่งใช้ไฟออกเป็นหลายวงจรก็จะมีเครื่องป้องกันกระแสเกินอยู่ด้วย วงจรเหล่านี้เรียกว่า "วงจรย่อย" การแบ่งวงจรย่อยจะแบ่งตามความเหมาะสมและแบ่งได้หลายแบบ ได้แก่ แบ่งตามพื้นที่ใช้งาน และแบ่งตามประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น วงจเครื่องปรับอากาศ วงจรเครื่องทำน้ำอุ่น และวงจรเต้ารับ เป็นต้น



วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

เซอร์กิตเบรกเกอร์


เป็นอุปกรณ์ที่เป็นทั้งเครื่องปลดวงจรและอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินในตัวเดียวกัน ซึ่งทำให้สะดวกและปลอดภัยในการใช้งาน มีทั้งชนิดตัดสายเส้นเดียว(เรียกว่าชนิดขั้วเดียว) ตัดสายสองเส้น และสามเส้น ตามความต้องการใช้งาน โดยในวงจร 1 เฟส 2 สาย สามารถเลือกใช้เป็นชนิดหนึ่งขัวหรือสองขัวได้ ถ้าเป็นชนิดหนึ่งขั้วก็จะตัดวงจรเฉพาะสายที่มีไฟเท่านั้น

ขนาดของเซอร์กิตเบรกเกอร์เรียกตามพิกัดกระแสเซอร์กิตเบรกเกอร์เป็นแอมแปร์ ขนาดที่ใช้ เช่น 5, 10, 15, 16, 20, 25, 30, 32, และ 50 แอมแปร์ เป็นต้น โดยจะระบุเป็นตัวเลขที่ก้านเซอร์กิตเบรกเกอร์ ในการเลือกซื้อต้องทราบพิกัดกระแสและแรงดันเช่นเดียวกับฟิวส์

ในการใช้งาน นิยมซื้อชนิดที่ประกอบมากัลกล่องเรียบร้อยแล้ว เรียกว่าโหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) หรือ คอนซูมเมอร์ยูนิต ทั้งสองชนิดนี้ใช้งานเหมือนกัน ต่างกันที่คอนซูมเมอร์ยูนิตออกแบบสำหรับใช้ในบ้าน จึงสวยกว่าและใช้งานสะดวกกว่า

ในกรณีที่เซอร์กิตเบรกเกอร์ปลดวงจร เนื่องจากการใช้ไฟเกินหรือลัดวงจร การจะสับเข้าใหม่ต้องทำการรีเซตเสียก่อน โดยโยกคันโยกไปในตำแหน่งปลด(off) แล้วจึงสับเข้าไปใหม่ได้

คอนซูมเมอร์ยูนิต

 หรือเรียกว่าโหลดเซ็นเตอร์ คือแฟงไฟฟ้าสำเร็จรูปที่ประกอบด้วยเซอณืกิตเบรกเกอร์ที่เป็นตัวเมนหนึ่งตัว จะสังเกตว่ามีขนาดใหญ่กว่าตัวอื่น และตัวย่อยที่ใช้เป็นวงจรย่อยอีกหลายตัวตามต้องการ ในการซื้อมาใช้งานจะต้องกำหนดด้วยว่าต้องการขนาดคอนซูมเมอร์ยูนิตที่มีตัวย่อยจำนวนเท่าไร เช่น 2, 4 หรือ 6 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่เป็นตัวย่อยอาจใส่ไม่ครบตามช่องว่างในกล่องก็ได้ โดยช่องที่ว่างอยู่จะมีฝาครอบปิดไว้ให้

 คอนซูมเมอร์ยูนิตทั่วไปจะประกอบด้วยตัวเมนและมีที่สำหรับใส่ตัวย่อยไว้ให้ โดยจะมีบัสบาร์ต่อจากตัวเมนไปยังตัวย่อยไว้เรียบร้อย เมื่อต้องการใช้งานก็เพียงแต่ประกอบตัวย่อยลงไปและทำการต่อสายด้านที่ออกไปต่อกับโหลดเท่านั้น แต่ถ้าไม่มั่นใจก็ควรลองวัดไฟดูว่าได้มีการต่อไฟเข้าไปที่ตัวย่อยแล้วหรือยัง

ในกล่องคอนซูมเมอร์ยูนิตจะมีขั้วต่อสาย(Terminal) ไว้สำหรับต่อสายนิวทรัล และอาจยังไม่ได้ต่อสายเตรียมไว้ให้ เราจะต้องเตรียมต่อสายนี้เอง(บางยี่ห้อต่อมาให้แล้ว เราไม่ต้องต่ออีก) คอนซูมเมอร์ยูนิตบางรุ่นจะมีขั้วสำหรับต่อสายดินแยกออกมาต่างหาก เราจะต้องทำการต่อสายระหว่างขั้วต่อสายนิวทรัลเข้ากับขั้วต่อสายดิน บางรุ่นจะมีขั้วต่อสายมาให้ชุดเดียว ซึ่งจะใช้เป็นทั้งขั้วต่อสายนิวทรัลและขั้วต่อสายดิน ปกติเมื่ซื้อคอนซูมเมอร์ยูนิตจะมีไดอะแกรมการต่อสายมาให้ด้วย

วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

เซฟตี้สวิตซ์

 เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับสับหรือปลดวงจรไฟฟ้า และป้องกันกระแสไฟเกิน เช่นเดียวกับคัทเอ๊าท์และคาร์ทริดจ์ฟิวส์ เซฟตี้สวิตซ์จะเอาใบมีดและฟิวส์ประกอบรวมมาในกล่องเดียวกัน กล่องนี้จะเปิดได้เมื่อใบมีดอยู่ในตำแหน่งปลดวงจรเท่านั้น

 เซฟตี้สวิตซ์มีใช้ตั้งแต่กระแสต่ำๆ จนถึงหลายร้อยแอมแปร์ ขนาดของฟิวส์ที่ใช้ก็จะแตกต่างกันออกไป โดยเซฟตี้สวิตซ์จะสามารถใส่ฟิวส์ที่มีขนาดเล็กกว่าได้หลายขนาด แต่จะใส่ฟิวส์ขนาดใหญ่กว่าไม่ได้ โดยเซฟตี้สวิตซ์ชนิดใช้กับไฟ 1 เฟส จะมีขั้วให้ใส่ฟิวส์ได้ 2 ตัว ซึ่งออกแบบไว้ให้ใช้ไฟในประเทศสหรัฐอเมริกา ในการนำมาใช้ในประเทศไทยเส้นที่ต่อสายนิวทรัลจึงต้องต่อตรงด้วยสายทองแดง และใส่ฟิวส์ที่เส้นไฟเพียงตัวเดียว

เมื่อเกิดกระแสเกิน ฟิวส์จะขาด จำเป็นต้องต้องเปลี่ยนใหม่เช่นเดียวกับคาร์ทริดจ์ฟิวส์ แต่การจะทราบว่าฟิวส์ขาดหรือไม่ต้องใช้เครื่องมือวัด หรืออาจทดสอบง่ายๆ ด้วยการใช้ไขควงวัดไฟ และให้คำนึงอยู่เสมอว่าสายนิวทรัลห้ามต่อผ่านฟิวส์เช่นเดียวกับคาร์ทริดจ์ฟิวส์

จุดที่ต่อสายไฟเข้าบ้าน

สายที่ดึงมาที่ตัวบ้านจะยึดด้วยไวร์โฮลเดอร์ จากนั้นจึงเดินเข้าแผงเมนสวิตซ์ ซึ่งสามารถเดินด้วยวิธีร้อยท่อหรือรัดคลิปกได้

กรณีเดินด้วยท่อ หากปล่อยปลายท่อด้านนอกอาคารอยู่ในตำแหน่งที่ฝนสาดไม่ถึง จะไม่ใช้หัวงูเห่าก็ได้




สายเมนที่เข้าสู่ตัวบ้านจะมาต่อเข้าที่เมนสวิตซ์หรือแผงรับไฟเข้า หน้าที่ของเมนสวิตซ์ คือ ปลด - สลับ(ตัด-ต่อ)ไฟฟ้าภายในอาคารทั้งหมด และยังทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ป้องกันวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร หรือเมื่อใช้ไฟฟ้าเกินขนาด

อุปกรณ์ที่ใช้เป็นเมนสวิตซ์ก็มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน โดยที่นิยมใช้ก็ได้แก่

คัทเอ๊าท์พร้อมฟิวส์
คัทเอ๊าท์และฟิวส์ เป็นอุปกรณ์คนละตัวกัน และทำหน้าที่ต่างกัน แต่ใช้งานร่วมกัน กล่าวคือ คัทเอ๊าท์เป็นอุปกรณ์สับหรือปลดวงจรไฟฟ้า ส่วนฟิวส์ก็มีหน้าที่ป้องกันการใช้ไฟเกินกำหนด
คัทเอ๊าท์ จะมีชนิดที่มีใบมีด 2 ใบ และ 3 ใบใช้ในวงจร 3 เฟส เมื่อเปิดฝาส่วนล่างของคัทเอ๊าท์ออก จะมีขั้วต่อสายและสกรูไว้สำหรับใส่ฟิวส์ชนิดเส้นหรือชนิดก้ามปู ในการใช้งานไม่ควรใช้ฟิวตะกั่ว ควรใส่ลวดทองแดงแทน และใช้คาร์ททริดจ์เป็นตัวป้องกันกระแสเกิน


คัทเอ๊าท์ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด เรียกตามความสามารถในการรับกระแสเป็นแอมแปร์ เช่น ขนาด 35 แมแปร์ และ 60 แอมแปร์ เป็นต้น ปัจจุบันแบบนี้เริ่มไม่นิยมใช้แล้ว เนื่องจากคัทเอ๊าท์ที่ผลิตจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันมีกไม่ค่อยมีมาตรฐาน เมื่อใช้งานจะมีอัตราความเสี่ยงสูง
 

คาร์ทริดจ์ฟิวส์ เป็นฟิวส์ที่บรรจุทรายในกรณีที่ฟิวส์ขาด ปุ่มที่อยู่ตรงปลายสุดของกระบอกฟิวส์ด้านใหญ่จะหลุดออกมา จะต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่จึงจะใช้งานต่อไปได้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานควรเปลี่ยนทั้งกระปุก ห้ามเปลี่ยนเฉพาะใส้ฟิวส์ข้างใน









ในการใช้งาน ตัวฟิวส์หรือเรียกว่ากระบอกฟิวส์ จะใส่เข้ากับขั้วหรือฐานฟิวส์ ขนาดของฐานฟิวส์ปกติจะใช้อยู่ 2 ขนาด คือ ขนาด 25 แอมแปร์ และ 63 แอมแปร์ แต่ฟิวส์ที่ใช้จะมีหลายขนาดตามโหลดและขนาดเครื่องวัด ซึ่งได้แก 6, 10, 16, 20, 25, 35, 50 และ 60 แอมแปร์





โดยฐานฟิวส์ขนาด 25 แอมแปร์ จะใส่กระบอกฟิวส์ที่มีขนาดเดียวกับฟิวส์หรือขนาดเล็กกว่าได้ แต่จะฟิวส์ที่มีขนาดใหญ่กว่าไม่ได้ และฐานฟิวส์ที่มีขนาด 63 แอมแปร์ ก็จะใส่ฟิวส์ที่มีขนาดไม่เกิน 63 แอมแปร์

ในการใช้งานจะต่อสายไฟทั้งสองเส้นผ่านคัทเอ๊าท์ก่อน จากนั้นจึงต่อสายเส้นที่มีไฟ (หรือสายเฟส) ผ่านฟิวส์โดยต่อเข้ากับฐานฟิวส์ ส่วยสายนิวทรัลซึ่งเป็นสายที่ไม่มีไฟ ไม่ต้องผ่านคาร์ทริดจ์ฟิวส์ การต่อนี้จะต้องใช้ความระมัดระวัง เช่นเดียวกับการต่อไฟชนิดเกลียวคือ ต้องต่อขั้วของฐานฟิวส์ส่วนที่ต่อกับเกลียวไว้ทางด้านออก(ด้านที่จะเดินสายต่อไปยังหลอดไฟหรือส่วนใช้งานอื่นๆ) เพื่อไม่ให้เกลียวมีไฟขณะที่ถอดฟิวส์

การรับไฟฟ้าเข้าสู่บ้าน

เมื่อมีการยื่นคำขอการใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฯแล้ว ผู้ใช้บริการจะต้องเดินสายไฟภายในบ้านให้เสร็จเรียบร้อยตามมาตรฐานที่การไฟฟ้าฯกำหนด จากนั้นการไฟฟ้าฯจะเข้ามาตรวจสอบการเดินสายภายในว่าถูกต้องหรือไม่ ก่อนดำเนินการติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเพื่อใช้วัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าของบ้านเพื่อนำไปคำนวณเป็นค่าไฟฟ้าที่ต้องชำระ โดยปริมาณการใช้ไฟฟ้า 1 ยูนิต หรือ 1 หน่วย คือการใช้ไฟฟ้าคิดเป็น 1 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง หรือเขียนได้อีกแบบหนึ่งคือ 1 หน่วยเท่ากับ 1 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง

เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ามีทั้งชนิด 1 เฟส และชนิด 3 เฟส ตามระบบไฟฟ้าที่ใช้งาน โดยที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าจะมีหน้าปัดแสดงตัวเลขหรือหน่วยการใช้ไฟฟ้า ลักษณะการแสดงหน่วยจะเหมือนกับเลขแสดงจำนวนกิโลเมตรของรถยนต์ แสดงจำนวนหน่วยเป็น 2 แบบ คือ แบบที่มีลักษณะหน่วยเป็นจุดทศนิยม และแบบที่ไม่มีลักษณะหน่วยซึ่งจะต่างกันตรงที่เลขหลักสุดท้ายของแบบที่มีหลักหน่วยจะมีสีที่แตกต่างออกไป

ในการอ่านของการไฟฟ้าฯจะอ่านตัวเลขจากซ้ายไปขวา อ่านเฉพาะจำนวนเต็ม ไม่อ่านทศนิยม เมื่ออ่านแล้วจะนำตัวเลขจากการอ่านครั้งใหม่ตั้งแล้วลบด้วยตัวเลขที่อ่านครั้งก่อนกับครั้งใหม่จะกินเวลาประมาณ 30 วัน

เมื่อการไฟฟ้าฯติดตั้งเครื่องวัดเรียบร้อยแล้ว จะเดินไฟฟ้าไปต่อกับสายของผู้ใช้ที่เตรียมไว้แล้ว(อาจเตรียมดึงไว้ที่หัวเสาหรือขดทิ้งไว้) สายที่โยงเข้าสู่บ้านนี้เรียกว่า "สายเมน" โดยขนาดของสายก็ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่การไฟฟ้ากำหนด ส่วนขนาดการรับไฟเข้ารั้รจะระบุเป็นกระแส จำนวนเฟสและแรงดัน โดยกระแสหรืออัตราการไหลของไฟฟ้าผ่านตัวนำนั้นจะมีขนาดตั้งแต่ 5 แอมแปร์ ซึ่งใช้ในอาคารบ้านเรือนทั่วไป กับขนาด 15 แอมแปร์ หรือหรือใหญ่กว่าสำหรับบ้านเรือนขนาดใหญ่ ส่วนแรงดันต่ำจะมีหน่วยเป็นโวลต์ ซึ่งโดยปกติจะไม่กล่าวถึงแรงดัน เนื่องจากแรงดันนั้นเป็นขนาดมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ คือ 220 โวลต์

ในการโยงสายไฟเข้าบ้านที่นิยมปฏิบัติกันมี 2 แบบ คือ

1. เดินสายไฟลอยในอากาศ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมมากในเอเซีย การติดตั้งแบบนี้จะมีมิเตอร์ติดอยู่ที่เสาไฟฟ้า และตัวรับไฟเข้าบ้านยึดติดอยู่ทางด้านนอกของอาคาร ส่วนแผงควบคุมไฟเรียกว่า เมนสวิตซ์ จะอยู่ภายในอาคารใกล้กับจุดรับไฟมากที่สุด



2. ฝังสายใต้ดินมายังอาคาร โดยเดินสายไฟไว้ในท่อโลหะหรือท่ออโลหะฝังไว้ใต้ดิน เพื่อป้องกันการชำรุดของสายไฟ และช่วยให้ไม่ต้องใช้เสาและสายไฟให้เกะกะ อย่างไรก็ตาม ควรเลือชนิดของสายไฟให้เหมาะสมด้วย


การจ่ายกระแสไฟฟ้าจากสถานีไฟฟ้า


ระบบไฟฟ้าที่การไฟฟ้าฯส่งจ่ายไปยังบ้านเรือนทั่วไฟนั้นเราเรียกว่า ระบบแรงดันต่ำ ซึ่งแบ่งเป็น2ระบบด้วยกัน ซึ่งในการใช้งานนั้น การไฟฟ้าฯจะพิจารณาให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าว่าจะใช้เป็นระบบ 1 เฟส หรือ 3 เฟส โดยพิจารณาจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ประเภท และจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้าน



ระบบไฟฟ้า 1 เฟส คือ ระบบไฟฟ้าที่มีสาย 2 เส้น คือ สายเส้นที่มีไฟฟ้าหนึ่งเส้นเรียกว่า สายเส้นเฟสหรือสายไฟ เขียนแทนตัวอักษรย่อว่า L หรือ P และอีกเส้นที่เหลือไม่มีไฟเรียกว่า สายนิวทรัล(Neutral) หรือสายศูนย์ เขียนแทนด้วยอักษรย่อว่า N ทดสอบได้โดยใช้ไขควงวัดไฟแตะสายเส้นเฟสหรือเส้นไฟ หลอดไฟเรืองแสงที่ภายในไขควงจะติด สำหรับสายนิวทรัลจะไม่ติด ไฟฟ้าที่จ่ายให้บ้านที่อยู่อาศัยทั่วไปเป็นแบบ 1 เฟส แรงดัน 220 โวลต์ ใช้สำหรับบ้านอยู่อาศัยทั่วไปที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่มากนัก เช่น มีเครื่องทำน้ำอุ่น และเครื่องปรับอากาศ 2 - 3 ครื่อง



ระบบไฟฟ้า 3 เฟส เป็นระบบที่มีสายเส้นไฟจำนวน 3 เส้น และมีสายนิวทรัลเพิ่มขึ้นมาอีก 1 เส้น จึงมีสายรวมกัน 4 เส้น ระบบ 3 เฟส สามารถต่อใช้งานเป็นระบบ 1 เฟสได้ โดยการต่อจากเฟสใดเฟสหนึ่งและสายนิวทรัลอีกเส้นหนึ่ง แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเฟสเส้นใดเส้นหนึ่งกับสายนิวทรัลมีค่า 220 โวลต์ และแรงดันระหว่างสายเฟสด้วยกันมีค่า 380 โวลต์ ระบบนี้จึงเรียกว่าระบบ 3 เฟส 4 สาย 220/380 โวลต์ ระบบนี้มีข้อดือ สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้มากกว่าระบบ 1 เฟส ถึง 3 เท่า จึงเหมาะกับสถานที่ที่ต้องการใช้ไฟมากๆ เช่น อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เป็นต้น สถานที่ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นไปอีกก็จะต้องใช้ไฟฟ้าเป็นระบบแรงสูง ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าต้องติดตั้งหม้อแปลงเองเพื่อปรับแรงดันให้ได้ตามที่ต้องการใช้งาน



วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น


สำหรับกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าสู่บ้านเรือนทั่วไปนั้นก็ใช้หลักการไหลแบบเดียวกัน คือ เริ่มจากเครื่องกำเนินดไฟฟ้า ณ โรงงานผลิตไฟฟ้า ผ่านกระแสไฟฟ้าแรงดันสูงตามสายไฟ(ซึ่งประกอบด้วยเส้นลวดอะลูมิเนียมจำนวนมาก) มาจนกระทั่งถึงสถานีไฟฟ้าย่อย ซึ่งมีหม้อแปลงแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นหรือต่ำลงได้ตามความต้องการใช้งาน ทั้งนี้เนื่องจากการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านมาตามสายไฟในระยะทางไกลจะทำให้มีการสูญเสียแรงดันส่วนหนึ่ง เมื่อส่งไฟฟ้ามาถึงพื้นที่ที่ต้องการใช้ไฟจะต้องลดแรงดันลงระดับหนึ่งเพื่อลดอันตราย เมื่อแปลงแรงดันให้พอเหมาะแล้วก็จะส่งตามสายมายังหม้อแปลงที่ติดอยู่ตามเสาไฟฟ้าในแหล่งชุมชนนั้นๆ เพื่อแปลงแรงดันอีกครั้งก่อนส่งผ่านเข้าสู่อาคารบ้านเรือน เมื่อมีการใช้ไฟฟ้าจากกิจกรรมต่างๆในบ้านเรือนก็จะไหลกลับไปตามสายอีกเส้นหนึ่งไปสู่แหล่งกำเนิดอีกครั้ง ซึ่งเท่ากับว่ามีการครบวงจรการไหลของกระแสไฟฟ้า

ช่างไฟฟ้าในบ้าน


ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้นต้องใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีคนไม่มากนักที่จะให้ความสนใจหรือเข้าใจ ในเรื่องของไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ในบ้าน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเมือพูดถึงไฟฟ้าแล้วเราจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องลึกลับซับซ้อนและอัตราย ต้องอาศัยผู้มีความรู้ความชำนาญเท่านั้นจึงจะหยิบจับหรือทำได้ ถึงแม้ความจริงเกี่ยวกับไฟฟ้าจะเป็นดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ไฟฟ้าก็ไม่ได้อันตรายร้ายแรง หากว่าเรารู้จักหลักการและมีความเข้าใจเพียงพอ ซึ่งสิ่งนี้นับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน

ต่อไปนี้จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับไฟฟ้าที่ทุกคนควรจะได้รู้เอาไว้ เพราะไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องราวลึกลับซับซ้อนหรือมีอันตรายอย่างที่คิด หากมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ มีความระมัดระวัง รู้จักการทำงานที่ปลอดภัย มือสมัครเล่นอย่างเราๆ ก็สามารถซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสวิตซ์ ปลั๊กไฟ หลอดไฟ หรือปัญหาในเบื้องต้นได้ด้วยตนเองอย่างไม่ยากเย็น ทั้งช่วยประหยัดเงินและเวลาในการหาช่างมาซ่อมแซม

ไฟฟ้าคืออะไร
พจนานุกรมได้ให้ความหมายคำว่า "ไฟฟ้า" ว่าคือพลังงานรูปหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแยกตัวออกมาหรือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน หรือโปรตอน หรืออนุภาคอื่น ที่มีคุณสมบัติแสดงอำนาจคล้ายคลึงกับอิเล็กตรอน หรือโปรตอน ใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดพลังงานอื่น เช่น ความร้อน แสงสว่าง การเคลื่อนที่

ไฟฟ้ามาจากใหน
ไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ทั่วโลกทุวันนี้มีแหล่งกำเนิดมาจากหลายแหล่งด้วยกัน คือ ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าสธรรมชาติ น้ำ ลม แสงอาทิตย์ และเซลล์ไฟฟ้า (แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่ให้กำลังไฟฟ้าด้วยปฏิกริยาเคมีภายในเซลล์) โดยการนำเอาพลังงานจากแหล่งต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นมาใช้เดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ผลิตไฟฟ้าส่งไปตามสาย

ไฟฟ้าทำงานอย่างไร
คุณสมบัติที่สำคัญชองไฟฟ้าคือ สามารถเคลื่อนไหลไปได้โดยอาศัย "ตัวนำไฟฟ้" ซึ่งเรามักเรียกปรากฎการณ์ไหลของไฟฟ้าว่า "กระแสไฟฟ้า" โดยการไหลของกระแสไฟฟ้านั้น จะไหลติดต่อกันจนครบวงจร โดยเริ่มจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าผ่านตัวนำและไหลกลับมายังแหล่งจ่ายไฟฟ้าตัวเดิมอีกครั้ง เรียกว่า "ครบวงจร" แต่ถ้ามีการตัดทางเดินของกระแสไไฟ้าด้วยการให้ตัวนำไฟฟ้าขาดออกจากัน ก็จะทำให้ไม่ครบวงจร ซึ่งการทำงานของสวิตซ์ไฟที่เราใช้กันอยู่ก็ใช้วิธีเดียวกันนี้ ดังนั้นหากเราสัมผัสกับวงจรเพียงด้านใดด้านหนึ่งโดยไม่ทำให้กระแสครบวงจร ไฟฟ้าก็ไม่อาจทำอันตรายเราได้ แต่อย่างไรก็ตาม ไฟฟ้าอาจไหลผ่านทางอื่นได้ ทำให้เราเป็นอันตราย ดังนั้นเมื่อไม่มั่นใจก็ไม่ควรสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า